Welcome Back to University! ต้อนรับนักศึกษาทุกคนเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้อีกครั้ง เตรียมร่าง เตรียมใจให้พร้อม เพื่อเข้าสู่ลูปการเรียน อ่าน สอบ วนไป ว่าแต่...การกลับมาเรียนครั้งนี้ ใครตั้งใจว่าจะคว้า A ช้วน หนี F บ้าง ยกมือขึ้น!
แต่การจะได้เกรดสวยๆ นั้น ก็แลกมาด้วยความพยายามและการใช้พลังงานมหาศาล วันนี้ B2S CLUB ขอพาเพื่อนๆ ชาวคลับทุกคน มาดูเทคนิคการอัปเกรดแบบไม่เปลืองพลังงาน แค่เปลี่ยนความคิด วิธีการ และนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ให้ได้ ก็จะได้เกรดสวยแบบมงลง!
ถ้าพร้อมที่จะรับเทคนิคขั้นเทพของเราแล้ว เลื่อนไปอ่านกันได้เล้ย
หลายคนอาจจะคิดว่าการอ่านหนังสือ เป็นการอ่านตำราเล่มหนาเตอะที่ไม่ได้มีความสนุกสนานเอาเสียเลย และน่าเบื่อเมื่อต้องเจอกับทฤษฎีมากมายที่จำยังไงก็จำไม่หมด แต่ถ้าเราลองจินตนาการการอ่านหนังสือให้เหมือนกันการอ่านนิยาย ที่เราจะค่อยๆ ค้นหาคำตอบไปกับเนื้อหาด้วยความสนใจทีละน้อยกับตัวละครต่างๆ ค่อยๆ แก้ปมปริศนาของสมการต่างๆ ที่เต็มไปด้วยตรรกะ ไปจนถึงจุดคลี่คลายด้วยการได้คำตอบของสมมติฐานที่เจ้าของทฤษฎีได้เขียนเอาไว้ และตื่นเต้นไปกับสิ่งเหล่านั้น เชื่อเลยว่าในที่สุด เราก็จะจำเนื้อหาต่างๆ ได้แบบที่เราจำบทนิยายได้แทบทุกฉากเลยแหละ ลองปรับความคิดดูนะ มันสามารถสนุกได้จริงๆ เชื่อเรา
ใช้ความ “เข้าใจ” มากกว่าการท่องจำ เปลี่ยนรูปแบบการอ่านหนังสือแบบเดิมๆ ที่เรามักท่องจำเนื้อหาทั้งหมดภายในเล่ม เป็นการอ่านเหมือนการอ่านหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารที่เราไม่ได้จำเนื้อหาทั้งหมด แต่เราเน้นจับใจความ สาระสำคัญของเนื้อหาที่คนเขียนตั้งใจจะบอกแทน หากเราลองนำมาปรับใช้กับการอ่านหนังสือที่เน้นจำแก่นของเนื้อหาด้วยการทำความเข้าใจอย่างจริงจัง เพียงแค่นี้ ก็สามารถนำเนื้อหาไปสอบหรือนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายมาก เพราะเราเข้าใจกับสิ่งนั้นจริงๆ
แต่ถ้าใครบอกว่า แค่เปลี่ยน Mindset กับเปลี่ยนรูปแบบไม่เพียงพอ ต้องการทางลัดการอ่านหนังสือฉบับเร่งด่วน วันนี้ B2S CLUB มีเทคนิคการอ่านหนังสือที่จะช่วยให้การ Back to school รอบนี้ สนุกและทำเกรดได้ดีกว่าที่เคย แน่นอน ว่าแล้วก็ไปรับเทคนิคเลย!
เป็นเทคนิคการอ่านที่ใช้วิธีการกวาดตาเร็วๆ กับเนื้อหาในแต่ละพารากราฟแล้วจับเอาใจความสำคัญเท่านั้น ส่วนพารากราฟไหนที่เป็นการบรรยายโดยที่ไม่ได้มีเนื้อหาสำคัญก็ไม่ต้องใช้เวลากับมันมากนัก แต่ก็คงมีคำถามตามมาว่า แล้วจะรู้ได้ยังไงล่ะ ว่าเมื่อไหร่ที่ควรข้าม?
เรามีวิธีการง่ายๆ มาฝาก คือ การแบ่งพารากราฟออกเป็น 2 แบบ
1. important: เนื้อหาสำคัญที่ไม่ควรข้าม
2. filler: พวกรายละเอียดเพิ่มเติม หรือการยกตัวอย่าง อันนี้ข้ามไปได้เลย แต่จริงๆ การมี Filler มากๆ เป็นข้อดีที่ทำให้เรามองเห็นภาพได้มากขึ้น แต่ถ้าเวลาเรามีจำกัด หากเจอพารากราฟไหนที่มีเนื้อหาพวก Filler เยอะมากๆ ก็ข้ามไปได้เลยไม่ต้องเสียเวลา
ทริคอีกอย่างนึงของการอ่านด้วยเทคนิคนี้ คือ เวลาที่เราเริ่มอ่านหนังสือส่วนใหญ่ เนื้อหาที่สำคัญๆ มักจะอยู่ที่ต้นพารากราฟ ในเนื้อหาส่วนแรกๆ ส่วนหลังๆ ที่เป็นพวก Filler มากๆ ก็ข้ามไปได้เลยอย่างพวก ความเป็นมาเป็นไป ข้อยกเว้น ข้อมูลเพิ่มเติม
เหมาะสำหรับคนที่ชอบการสปอยล์เนื้อหา หรือการเฉลยเนื้อหาก่อน โดยการอ่านจากด้านหลังย้อนกลับไปด้านหน้า จะช่วยเฉลยคำตอบก่อนแล้วค่อยๆ ย้อนกลับไปหาที่มาของคำตอบนั้น เป็นการสปอยล์ตอนจบไปในตัว เหมือนการอ่านนิยายแล้วข้ามไปตอนจบแล้วไม่มีอะไรให้ค้างคา!
ข้อดีของการอ่านแบบย้อนกลับ คือ ในท้ายบทคนเขียนได้เขียนสรุปไว้แบบเสร็จสรรพ โดยในบทท้ายนี้จะมีทั้งคำศัพท์ ใจความสำคัญ และคำถามท้ายบท ซึ่งทริคคือ เราต้องจดพวกคำศัพท์และคำถามเอาไว้ เมื่อเราย้อนกลับไปอ่านในเนื้อหาต้องลองกวาดตาหาคำเหล่านี้ให้เจอ เพื่อให้รู้รายละเอียดของคำตอบเหล่านั้น
วิธีนี้จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมมากขึ้น เหมือนการมองภาพใหญ่และคอนเซ็ปต์สำคัญของเนื้อก่อนลงดีเทลนั่นเอง โดยวิธีการนี้ ไม่จำเป็นต้องอ่านจากท้ายเล่มมาหน้าเล่มอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นการเริ่มอ่านจากท้ายบทมาหน้าบทของแต่ละบทก็ได้
เทคนิคการอ่านหนังสือแบบเร็วสุด รีบสุดในกรณีที่ไม่มีเวลา หรืออ่านไม่ทันจริงๆ คือการสังเกตคำที่มีตัวหนา หรือตัวเอียง ตัวพิเศษเหล่านี้ เราควรต้องหยุดและให้ความสนใจกับมันเป็นพิเศษ เพราะนี่คือใจความสำคัญที่เราควรรู้ โดยทริคเล็กๆ ของการอ่านด้วยเทคนิคนี้คือ ก่อนอ่านแบบละเอียด เราอาจจะทำการกวาดตามองหาพวก “ตัวหนา ตัวเอียง” ก่อน แล้วค่อยเขียนโน้ตอธิบายคำเหล่านั้นสั้นๆ เป็นภาษาของเราเอง
“เรากำลังอ่านเรื่องอะไร เพื่อเนื้อหาอะไร และเนื้อหานี้ให้อะไรกับเรา” เป็นการตั้งคำถามก่อนที่จะเริ่มอ่านหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะเป็นการอ่านเพื่อสอบก็ตาม แต่การหัดตั้งคำถามเหล่านี้ตลอดเวลา จะช่วยให้เรา Recall เนื้อหาที่เราต้องการได้
และพออ่านแต่ละบทจบแล้ว เราต้องทำการ “Recall“ หรือการทบทวนอีกสักรอบว่า “เรื่องที่เราอ่านผ่านไปมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?” และลองอธิบายให้ตัวเองฟัง หรือเขียนออกมาเป็นภาษาตัวเองแบบง่ายๆ แต่ถ้าเรายังไม่เข้าใจที่ตัวเองพูดหรือเขียนออกมา นั่นหมายความว่าเราไม่ได้เข้าใจเนื้อหาที่อ่านไป ดังนั้น ต้องย้อนกลับไปอ่านใหม่่จนเข้าใจด้วยนะ
เมื่ออ่านแล้ว เข้าใจแล้ว ก็ต้องโน้ตออกมาให้ได้เพื่อที่จะได้เอามาทบทวนอีกครั้งในรูปแบบของตัวเอง โดยการจดก็มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจดแบบ Outline ที่เขียนอธิบายเป็นขั้นเป็นตอน หรือการจดแบบแผนผังความคิดที่ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาในแต่ละส่วน แต่ไม่ว่าจะจดแบบไหน ตัวช่วยที่สำคัญคือการมีเครื่องเขียนที่ดีและตอบโจทย์ ซึ่ง B2S CLUB รวมไว้ให้แล้ว
พี่ๆ มหาลัย ต้องโน้ต ต้องเลคเชอร์เยอะ เรียนหลายวิชาก็ต้องมีปากกาสีดีๆ Spare ไว้ให้พร้อม ปากกาสีน้ำ Monami เซ็ตนี้ มาพร้อมกล่องจัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อย มีทุกเฉดสีที่ต้องการ จะจดแบบทางการ สีสัน หรือเอาไว้ใช้ไฮไลต์ ก็ตอบโจทย์สุดๆ มีกล่องเดียว ใช้ชีวิตรอดไปทั้งเทอม
แบรนด์เครื่องเขียนในตำนานที่อยู่กับเรามาตั้งแต่ยังเด็ก พี่ๆ มหาลัยต้องมีติดเป๋าเลยนะ ไฮไลท์แท่งยาว จับถนัดมือ ทำให้จดได้คล่องตัวกว่า แถมมีให้เลือกหลายสี แต่ละเฉดคือจี๊ดๆ ทั้งนั้น ไฮไลท์หน้าไหน คำไหนก็เด่น จดจำได้แน่นอน
ดินสอกดที่จับถนัดมือที่สุด ดีไซน์ด้ามจับให้มีความหนาพอดีมือ ช่วยให้จับได้อย่างถนัด แถมสะดวกสบายด้วยปุ่มกดเลื่อนไส้ดินสอด้านข้าง มีที่เหน็บด้านข้าง สะดวกต่อการพกพาด้วย พี่ๆ มหาลัยคนไหนไม่ชอบพกกระเป๋าดินสอ เหน็บดินสอตัวนี้ไปจดได้ทุกที่เล้ย สะดวกมาก
สายต้องจดเยอะ จดไว จดเร็ว ต้องมีเลย! ปากกาลูกลื่น Acroball หัวหมึกแห้งเร็ว หมึกสีน้ำเงินเข้มสวย
ขนาดหัวปากกา 0.5 มม. เล็กพอดี เขียนได้ลื่นไหล ไม่สะดุด ตัวด้ามจับถนัดมือ ทำให้เขียนนานๆ ไม่เมื่อย
พี่ๆ วัยทีน น่าจะไม่ชอบพกอะไรเยอะแยะ B2S CLUB ขอนำเสนอกระเป๋าดินสอที่ตอบโจทย์ ขนาดพอดี ไม่เล็กไม่ใหญ่ จุของได้เยอะ มาพร้อมสีเรียบๆ ไม่ดูเด็กไปและไม่ดูโตไป หยิบขึ้นมาเปิดใช้เมื่อไหร่ก็เก๋ชิค วัสดุเป็นหนังเงาทนทาน ภายนอกกันน้ำได้ด้วย