เมื่อหันกลับมาดูที่ประเทศเรา ลูกโดนบูลลี่ ลูกโดนเพื่อนแกล้ง ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย ระยะหลังพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในรั้วโรงเรียนบ่อยขึ้น และดูเหมือนว่าสถานการณ์จะหนักหน่วงขึ้น เมื่อพ่อแม่ไม่สามารถปกป้องลูกได้ 24 ชั่วโมง พ่อแม่จะหยุดความเลวร้ายเมื่อลูกโดนบูลลี่ได้อย่างไร เราชวนคุณพ่อคุณแม่มาเจาะลึกเรื่องนี้กันอีกหน่อยเพื่อหาวิธีรับมือที่ถูกต้อง
จากสถิติของกรมสุขภาพจิตพบเด็กโดนกลั่นแกล้งในโรงเรียนมากถึง 6 แสนคน ซึ่งเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี นอกจากผลกระทบระยะสั้นแล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการดำเนินชีวิตระยะยาว
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการถูกกลั่นแกล้งจะเกิดขึ้นเมื่อถูกทำร้ายร่างกายเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การกลั่นแกล้งเกิดขึ้นได้หลายทาง ดังนี้
คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การโดนแกล้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก หากสะสมทุกวันจะส่งผลกระทบด้านจิตใจได้มากที่สุด รวมถึงความสามารถของเด็กด้วย โดยเฉพาะความสามารถในการเรียนรู้ เพราะลูกจะรู้สึกวิตกกังวล ไม่อยากมาโรงเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน เมื่อผลการเรียนแย่ลง เด็กจะยิ่งรู้สึกไร้ค่า ไร้ตัวตน ไม่มีเพื่อน งานวิจัยจากยูเนสโก้พบว่า เด็กที่โดนบูลลี่มากกว่าร้อยละ 50 ต้องลาออกจากโรงเรียน เสียโอกาสทางการศึกษาและกระทบต่อการใช้ชีวิตในอนาคตด้วย
หากลูกไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคุณครูหรือผู้ปกครองอย่างทันท่วงที และปล่อยให้ถูกบูลลี่ไปเรื่อย ๆ เพราะคิดว่า
“แค่เรื่องเล็ก เป็นธรรมดาของเด็ก ๆ เดี๋ยวจะผ่านไป”
หรือ
“ลูกต้องอดทนสิ ไม่งั้นจะอยู่ในสังคมได้อย่างไร คนในสังคมมีทุกประเภท”
ยิ่งครอบครัวที่อาจเป็นที่พึ่งสุดท้ายกลับหันหน้าหนี ลูกก็ยิ่งมีแนวโน้มสูงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า มากกว่าร้อยละ 50 และนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด
นอกจากนี้ยังมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่ตอบโต้ปัญหานี้ด้วยความรุนแรง เช่น การสู้กลับ หรือแก้แค้นด้วยพฤติกรรมที่รุนแรงกว่า อย่างการใช้อาวุธ แม้วิธีนี้ดูเหมือนว่าลูกจะเอาตัวรอดจากสถานการณ์ได้ แต่สุ่มเสี่ยงที่ลูกจะกลายเป็นผู้กระทำผิดไปด้วย
สำหรับเด็กเล็กวัยอนุบาล–ประถม ยังใกล้ชิดกับครอบครัว คุณพ่อคุณแม่จะเห็นความผิดปกติได้ง่าย ๆ ว่าลูกโดนบูลลี่หรือไม่ โดยสังเกตจากพฤติกรรม ดังนี้
เห็นอย่างนี้แล้ว ปัญหาลูกโดนบูลลี่ทั้งในและนอกโรงเรียนไม่ใช่เรื่องเล็ก คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องปลูกฝังความคิดที่ดี เช่นการยอมรับความแตกต่าง ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สอนฝึกทักษะการรับมือให้ลูกเอาตัวรอดจากการโดนบูลลี่ และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก และเพื่อนรอบตัว เพื่อจับสัญญาณผิดปกติได้ทัน แก้ไขปัญหาได้ทันที