We use cookies
We use cookies to improve your experience and performance on our website. You can manage your preferences by clicking "Change Preferences".Cookie Policy
ลูกดื้อ เอาแต่ใจ ผิดไม่ยอมรับ เถียงไม่หยุด! เล่นเอาคุณแม่นางฟ้าแปลงร่างเป็นนางยักษ์ อยากตีลูกสักเปรี๊ยะจะผิดไหม
หลายคนคิดว่าการตีเป็นการสั่งสอน ตักเตือนด้วยความรักเพื่อลงโทษเมื่อลูกทำสิ่งไม่ดี อีกทั้งรู้สึกว่าตอนเด็ก ๆ พ่อแม่เองก็เคยโดนตีมาก่อน ไม่น่าจะเสียหายตรงไหน กระทั่งมีการผลิตซ้ำวาทกรรม “ได้ดีเพราะไม้เรียว”
แม้การตีหยุดพฤติกรรมแย่ ๆ ของลูกได้ทันที แต่กลับทิ้งร่องรอยความเจ็บปวดไว้ให้ลูก ทั้งรอยแดงบนร่างกาย และรอยแผลที่ฝังลึกอยู่ในใจลูก ส่งผลให้พ่อแม่ได้รับการตอบสนองในเชิงลบตามมา แทนที่ลูกจะเชื่อฟัง ดังคำกล่าวที่ว่า “ยิ่งตี ลูกยิ่งดื้อ” เป็นเพราะอะไร ตามมาหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ทำไมการตีลูก ทุกอย่างจึงแย่ลง
การไม่ตีลูกไม่ได้แปลว่าพ่อแม่จะลงโทษไม่ได้ แต่การตีเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่งที่ฝ่ายตีใช้กำลัง และอารมณ์เชิงลบ เช่น โกรธ ผิดหวัง หรือเสียใจ กระทำไปยังอีกฝ่าย เมื่อลูกโดนตีก็รู้สึกเจ็บ กลัว จึงหยุดหรือไม่ทำสิ่งนั้นอีก แต่ลูกไม่ได้เข้าใจว่า “ทำไมต้องหยุดทำ” และ “ควรทำอย่างไรดี” ขณะเดียวกันลูกจะรับรู้เพียงว่า ถ้าพ่อแม่ทำหน้าตาขมึงตึง เสียงดัง ยกมือสูง หรือถือไม้ เขาจะเจ็บตัว
งานวิจัยจากต่างประเทศหลายแห่งพบว่า เด็กที่ถูกตีบ่อย ๆ ตั้งแต่ยังเล็ก จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้าน แม้อายุเพียง 1 ขวบเท่านั้น แต่เมื่อโตขึ้นมาจนถึง 2 ขวบจะยิ่งก้าวร้าวขึ้นและเรียนรู้ช้าลง
นอกจากนี้เด็กในช่วงวัยเรียนรู้ จะเลียนแบบพฤติกรรมพ่อแม่ และจดจำความรุนแรงนี้ไปใช้เมื่อโตขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกแย่ลง เมื่อเป็นเช่นนั้นพ่อแม่มีแนวโน้มที่จะตีบ่อยขึ้น แรงขึ้น หรือลงโทษรุนแรงมากขึ้นไปเรื่อย ๆ สวนทางกับพฤติกรรมของลูกที่ถดถอยลง กลายเป็นเด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง ขาด self-esteem และลดคุณค่าของตัวเอง ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นคนเครียดง่าย ถูกกดดันได้ง่าย และนำไปสู่โรคซึมเศร้าในอนาคต
เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง การเลี้ยงลูกก็ต้องเปลี่ยนตาม เด็กอัลฟ่าจะเป็นเด็กที่เป็นตัวของตัวเองสูง เขาเกิดและเติบโตมากับ IT และ WiFi เขาจะพบพลโลกและ AI เขาจะพบโลกร้อนและโลกที่ขาดน้ำ โลกมาถึงจุดที่มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นด้วยความเร่งสูงสุด เป็นที่เห็นตรงกันในหนังสือจำนวนมากว่า ทักษะที่เด็กเจนอัลฟ่าควรมีคือ EF และทักษะศตวรรษที่ 21"EF คืออะไร...ทักษะศตวรรษที่ 21 คืออะไร"เรียนเก่งแบบเดิมไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว
เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจ วัยไหนก็ได้ดี
เมื่อลูกน้อยเข้าสู่ "วัยรุ่น" พวกเขาได้ก้าวเข้าสู่วัยที่เป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในชีวิต หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการมีเวลาให้ลูก เข้าใจธรรมชาติของวัยรุ่น สอนให้มีวินัย สอนลูกเรื่องเพศและการรู้หน้าที่ตัวเอง รวมถึงคำแนะนำในการพูดคุยกับวัยรุ่นเมื่อเกิดปัญหาด้วย เพราะ “เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจ วัยไหนก็ได้ดี" ขอให้พ่อแม่เปิดอ่านด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง
เลี้ยงลูกให้เป็นคนเก่ง
เพราะพ่อแม่มีเวลาที่ลูกจะอนุญาตให้เลี้ยงจริง ๆ เพียงสิบปีเท่านั้น!! ใช้ให้คุ้มค่า เลี้ยงให้ถูกวิธี แล้วลูกคุณจะเป็นคนเก่ง
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าวิธีเลี้ยงลูกที่เป็นจริง เล่าเรื่องแบบแผนการเลี้ยงลูก การสื่อสาร และทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ลูกควรมี มากกว่าจะทุ่มทุนสร้างให้ลูกเรียนเก่งที่สุดเพียงวิธีเดียว
รวบรวมสาระที่คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่จำเป็นต้องรู้เอาไว้อย่างครบถ้วน อาทิ สิ่งที่คุณควรรู้เมื่อคุณกำลังจะเป็นพ่อแม่เกร็ดน่ารู้สำหรับการเลี้ยงลูกที่ถูกต้องการสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดี เพื่อให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพเลี้ยงลูกแบบไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นแบบนี้ฯลฯสร้างต้นแบบและเบ้าหลอมที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา ด้วยตัวคุณพ่อคุณแม่ เริ่มต้นตั้งแต่ที่บ้าน
เลี้ยงลูกแบบไม่ดราม่า
หนังสือเล่มนี้จะแนะนำกลวิธีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ให้เหมาะกับสมองของเด็กทุกเพศวัย ใช้วิธีการอธิบายที่เรียบง่าย พร้อมภาพการ์ตูน และคำแนะนำที่สามารถปฏิบัติได้จริง พร้อมให้คำแนะนำสำหรับรับมือกับการแผลงฤทธิ์ ความตึงเครียด และน้ำตา โดยไม่สร้างฉากดราม่าใด ๆ เพื่อให้การเลี้ยงลูกมีประสิทธิภาพที่สุด คลิก