กิจกรรม
เรื่องน่ารู้
รวมเรื่องน่ารู้
บทความ
คลิป
พอดแคสต์
รีวีวหนังสือ
แบ่งปันเรื่องราวดีๆ
ช้อปออนไลน์
ข้อเสนอและโปรโมชั่น
แคตตาล็อก
หนังสือใหม่
หนังสือขายดี
B2S Online Shopping
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
FAQ
นโยบายคุกกี้
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ข้อตกลงและเงื่อนไข
ค้นหา
สมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
EN
หน้าหลัก
กิจกรรม
รีวีวหนังสือ
แบ่งปันเรื่องราวดีๆ
เรื่องน่ารู้
รวมเรื่องน่ารู้
บทความ
คลิป
พอดแคสต์
ช้อปออนไลน์
ข้อเสนอและโปรโมชั่น
แคตตาล็อก
หนังสือใหม่
หนังสือขายดี
B2S Online Shopping
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
FAQ
นโยบายคุกกี้
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ข้อตกลงและเงื่อนไข
หน้าหลัก
กิจกรรม
เรื่องน่ารู้
รวมเรื่องน่ารู้
บทความ
คลิป
พอดแคสต์
รีวีวหนังสือ
แบ่งปันเรื่องราวดีๆ
ช้อปออนไลน์
ข้อเสนอและโปรโมชั่น
แคตตาล็อก
หนังสือใหม่
หนังสือขายดี
B2S Online Shopping
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
FAQ
นโยบายคุกกี้
นโยบายความเป็นส่วนตัว
ข้อตกลงและเงื่อนไข
EN
หน้าแรก
•
เรื่องน่ารู้
•
บทความ
•
ช่วยลูกรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้ง บูลลี่ (Bully)
ช่วยลูกรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้ง บูลลี่ (Bully)
20 ก.พ. 64
5
2172
ช่วยลูกรับมือกับปัญหาการกลั่นแกล้ง บูลลี่ (Bully)
.
Bully (บุลลี่) หรือการกลั่นแกล้ง
เป็นคำที่เริ่มปรากฏตามสื่อต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ที่มักถูกรังแกจากเพื่อนที่โรงเรียนหรือคนในครอบครัว เช่น พี่น้อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตของเด็กที่ถูก Bully อาจทำให้เด็กเกลียดกลัวการไปโรงเรียน ไปจนถึงมีปัญหาในการเข้าสังคม ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องหันกลับมาพิจารณาให้ดีว่าจะช่วยลูกให้สามารถรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
มาดูกันว่าการ Bully คืออะไร
บุลลี่ (Bully)
คือ พฤติกรรมก้าวร้าวซึ่งอาจเป็นการใช้กำลัง การพูดทำร้ายจิตใจ การกดดันทางสังคม หรือการปฏิบัติในทางลบ โดยคนหรือกลุ่มคนที่ได้เปรียบกระทำต่อผู้ที่เสียเปรียบหรืออ่อนแอกว่า จนผู้ถูกกระทำรู้สึกแย่ เจ็บปวดทางกายและใจ เกิดความเครียด สามารถแบ่งออกตามลักษณะความรุนแรงได้ดังต่อไปนี้
การใช้กำลังบังคับหรือทำร้ายร่างกาย
เช่น หยิก ผลัก ตี เตะ ต่อย แย่งหรือข่มขู่เอาสิ่งของ ทำลายข้าวของของผู้ถูกรังแกให้เสียหาย สั่งให้ทำเรื่องที่ไม่อยากทำ เป็นต้น
การใช้คำพูดทำร้ายความรู้สึก
เช่น ล้อเลียน ดูถูก ข่มขู่ วิพากษ์วิจารณ์ ใช้คำพูดล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น
การกลั่นแกล้งทางสังคม
เช่น กีดกันออกจากสังคมหรือห้ามคนอื่นเข้าใกล้เหยื่อ โดยอาจใช้การข่มขู่หรือเผยแพร่ข่าวลือในทางลบ เป็นต้น
การกลั่นแกล้งทางโซเชียล หรือ Cyberbullying
ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม อีเมล เป็นต้น เป็นการกลั่นแกล้งที่ทำได้ง่ายและมักไม่เปิดเผยตัวผู้ทำ
ทำไมจึงเกิดการกลั่นแกล้งหรือบูลลี่คนอื่น
ส่วนมากเด็กที่ไปบูลลี่คนอื่นนั้นเป็นเพราะ
เด็กรู้สึกขาดหรือมีแรงจูงใจบางอย่าง เช่น ขาดความรักความผูกพันในครอบครัว รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความรักเพียงยงพอ จึงแสดงออกในลักษณะที่แข็งแกร่งภายนอก เช่น แสดงตัวเป็นหัวโจกบูลลี่คนอื่นเพื่อแสดงออกว่าเหนือกว่าคนอื่น
เด็กถูกเลี้ยงดูโดยไม่ได้รับการปลูกฝังว่าความแตกต่างเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่โตมากับความคิดที่ว่าถ้าแตกต่างแปลว่าไม่ดี เมื่อมาเจอคนที่แตกต่างจึงไม่ยอมรับ และอาจชักชวนให้กลุ่มเพื่อนไม่ยอมรับเพื่อนคนนี้ไปด้วย ถือเป็นการกลั่นแกล้งในรูปแบบหนึ่ง
จะช่วยเด็กจากการถูก Bully ได้อย่างไร
แนวทางที่พ่อแม่จะช่วยปกป้องลูกไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการ Bully มีดังนี้
สังเกตสัญญาณที่แสดงออกทางกายและอารมณ์ความรู้สึก หากลูกยังเล็กและไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง พ่อแม่สามารถสังเกตว่าลูกถูกกลั่นแกล้งโดยดูได้จากการที่ลูกบอกว่าทำของหายบ่อย ๆ รวมทั้งอาจจะมีร่างกายที่บอบช้ำ หรือมีบาดแผลตามตัวโดยบอกสาเหตุไม่ได้ ลูกมีเพื่อนน้อย หรืออยู่ ๆ ก็มีเพื่อนน้อยลง ลูกเครียด หงุดหงิด วิตกกังวล นอนไม่หลับ หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม ไม่อยากไปโรงเรียน เป็นต้น
พูดคุยกับลูกอย่างตรงไปตรงมา ลองพูดคุยและเล่าประสบการณ์การถูกแกล้งให้ลูกฟัง หากลูกกล้าพูดออกมาว่าโดนแกล้ง ให้ชื่นชมในความกล้าหาญเพื่อฟื้นฟูจิตใจ แล้วปรึกษากับทางโรงเรียนถึงการจัดการอย่างจริงจัง
ช่วยให้ลูกรู้สึกดีกับตัวเอง
อาจเริ่มจากการให้ลูกรู้จักดูแลตัวเอง รักษาความสะอาดของร่างกาย ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพราะความมั่นใจและการเห็นคุณค่าในตัวเองจะทำให้ลูกสามารถเผชิญหน้ากับการถูก Bully ได้
บอกให้ลูกอยู่เป็นกลุ่ม
การอยู่คนเดียวจะเพิ่มความเสี่ยงให้โดนแกล้ง รวมทั้งต้องสอนให้บอกให้ผู้ใหญ่รับรู้เสมอเมื่อถูกกลั่นแกล้งหรือเห็นการกลั่นแกล้งในโรงเรียน
สอนให้ลูกรับมืออย่างกล้าหาญและใจเย็น
ควรสอนให้ลูกกล้าเผชิญหน้ากับอีกฝ่าย เพื่อแสดงให้เห็นว่าลูกไม่ใช่เหยื่อ ไม่ต้องสนใจสิ่งที่ผู้กลั่นแกล้งทำหรือพูด แล้วบอกให้อีกฝ่ายหยุดทำด้วยท่าทีที่เรียบๆ แล้วเดินออกมาจากตรงนั้น แต่ห้ามใช้กำลังหรืออารมณ์ตอบโต้ เพราะนอกจากจะเป็นอันตรายแล้ว ยิ่งทำให้เรื่องบานปลายได้
พูดคุยกับพ่อแม่ของเด็กที่เป็นผู้กลั่นแกล้งเพื่อให้รัรู้ปัญหาและหาแนวทางจัดการ
โดยอาจนัดพูดคุยที่โรงเรียนพร้อมกับครูประจำชั้น เพื่อหาวิธีรับมือกับเรื่องที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กันหลาย ๆ ฝ่าย
มาเป็นชาว B2S CLUB ด้วยกันนะ สมัครสมาชิก
คลิกเลย!
Share
Tag:
ความคิดเห็น
Rate
5.0
5.0
4.5
4.0
3.5
3.0
2.5
2.0
1.5
1.0
0.5
เพิ่มรูปภาพ
กำหนดไฟล์รูป jpg, png, gif ขนาดไม่เกิน 5 MB เท่านั้น
ข้อความ
เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ
B2S แชร์ไอเดียตกแต่งงานปาร์ตี้ด้วยกระดาษห่อของขวัญ ต้อนรับปีใหม่ 2025
10 เทคนิคเตรียมสอบเข้ามหาลัย ให้ได้คะแนนสูง
5 แอปเด็ดช่วยจัดเวลาเรียน-เล่น Back to School นี้ไม่มีพัง
10 เครื่องเขียนต้องมี เปิดเทอมนี้เรียนสนุกขึ้น!
เพราะหนังสือ คือเพื่อนที่ดีที่สุด ให้หนังสือเป็นของขวัญแทนใจ
แจกทริคทำ Portfolio มหาลัยยังไง ให้ง่ายและดูดี
ดูทั้งหมด