ช่วงนี้เปิดเทอมกันแล้ววว..ไหนๆ ใครว้าวุ้นทั้งเรียน ทั้งทำงาน ทั้งกิจกรรม วันๆ 1000 situations จนหัวหมุนกันบ้าง ? B2S CLUB อยากชวนเพื่อนๆ ทุกคน ทั้งวัยเรียน มหาลัยฯ หรือแม้กระทั่งวัยทำงาน มาทำความรู้จักการจัดการจังหวะเวลาแบบ 15-45-90 กัน
ว่าแต่ตัวเลขทั้ง 3 ตัวนี้หมายถึงอะไร และมีความสำคัญกับการจัดการเวลาของเรายังไง มาค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในบทความนี้เลย!
ก่อนอื่น อยากให้เพื่อนๆ ลองตอบคำถามว่า “คิดว่าตัวเองสามารถจดจ่อมีสมาธิกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้กี่นาที” แน่นอนว่าหลายคนคงไม่เคยสังเกตว่าจริงๆ แล้ว เวลาเราลงมือทำอะไรบางอย่างจะมีสมาธิอยู่กี่นาที ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก ๆ ในการเรียน หรือการทำงาน เพราะการที่เราจะเรียน หรือ ทำงานให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่เรื่อง “ปริมาณ” ว่าเราทำได้มากน้อยแค่ไหน แต่ขึ้นอยู่กับ “คุณภาพ” ของสิ่งที่ทำด้วยว่าทำแล้วได้ประโยชน์สูงสุดไหม และตัวเลข 15-45-90 นี้แหละ ที่จะช่วยให้ทั้งปริมาณและคุณภาพของสิ่งที่ทำสัมพันธ์กัน
ถึงเวลารู้จักกับตัวลข 15-45-90 แล้ว ว่าจะช่วยให้การเรียนหรือการทำงานของเรามีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร
ก่อนอื่น อยากให้เพื่อนๆ ลองตอบคำถามว่า “คิดว่าตัวเองสามารถจดจ่อมีสมาธิกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้กี่นาที” แน่นอนว่าหลายคนคงไม่เคยสังเกตว่าจริงๆ แล้ว เวลาเราลงมือทำอะไรบางอย่างจะมีสมาธิอยู่กี่นาที ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมาก ๆ ในการเรียน หรือการทำงาน เพราะการที่เราจะเรียน หรือ ทำงานให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่เรื่อง “ปริมาณ” ว่าเราทำได้มากน้อยแค่ไหน แต่ขึ้นอยู่กับ “คุณภาพ” ของสิ่งที่ทำด้วยว่าทำแล้วได้ประโยชน์สูงสุดไหม และตัวเลข 15-45-90 นี้แหละ ที่จะช่วยให้ทั้งปริมาณและคุณภาพของสิ่งที่ทำสัมพันธ์กัน
ถึงเวลารู้จักกับตัวลข 15-45-90 แล้ว ว่าจะช่วยให้การเรียนหรือการทำงานของเรามีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร
15 นาทีแรกหลังจากการตื่นนอนหรือการพัก เป็นช่วงเวลาที่เรามีสมาธิมากที่สุด โดยเราสามารถทำอะไรที่จดจ่อมากๆ ได้ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นสมาธิจะค่อย ๆ ลดลง ดังนั้น หากเราต้องทำอะไรที่ต้องการสมาธิมาก ๆ เช่น งานใหญ่ โปรเจ็กต์ใหญ่ หรืองานสำคัญๆ ลองหันมาทำในช่วงเวลา 15 นาทีนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกันนะ
45 นาทีที่เรามีสมาธิอย่างต่อเนื่องโดยยังไม่หลุดโฟกัส หากเราลองสังเกตคาบเรียนตอนประถมหรือมัธยมจะมีเวลาอยู่ที่ประมาณ 45-50 นาที นั่นเป็นเพราะว่า 45 นาทีเป็นช่วงเวลาที่เรายังคงมีสมาธิอยู่นั่นเอง โดยมีงานวิจัยจากอาจารย์อากิโอะ โมริ อาจารย์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิฮน ได้กล่าวว่า “ขีดจำกัดของสมาธิของเราอยู่ที่ 40 นาที” หมายความว่าเราสามารถใช้ประโยชน์จากตัวเลข 45 นาทีนี้ได้ด้วยการแบ่งเป็น 3 เซ็ต เซ็ตละ 15 นาทีในการทำสมาธิจดจ่อ และหลังจากนั้นก็ควรพักนั่นเอง
90 นาที คือตัวเลขขีดจำกัดของเวลาที่ผู้ใหญ่สามารถควบคุมสมาธิได้ ยิ่งถ้าได้แบ่งออกเป็น 2 เซ็ต เซ็ตละ 45 นาทีก็จะช่วยให้เวลาช่วงนี้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หากลองมองง่ายๆ เหมือนเวลาแข่งฟุตบอลที่มีเวลาจำกัดอยู่ที่ 90 นาที ก็จะแบ่งออกเป็นช่วงละ 45 นาทีเพื่อให้ทั้งผู้เล่น และผู้ชมยังมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเกม หรือเพื่อนๆ ลองดูคาบเรียนในระดับมหาวิทยาลัย การแบ่งวิชาเรียนมักจะอยู่ที่ 3 ชั่วโมง หรือ 180 นาที และแบ่งพักครึ่งละ 90 นาที นั่นเอง
ตัวเลข 15-45-90 นี้ เป็นเทคนิคจากส่วนหนึ่งของหนังสือ “สกิลขั้นเทพของนักบริหารเวลาที่รู้จักสมอง” ของคุณหมอชิอน คาบาซาวะ พอรู้ความสำคัญตัวเลขทั้ง 3 ตัวแล้ว เราก็จะสามารถบริหารจัดการเวลาตัวเองให้เหมาะสมกับจังหวะเวลาเวลา 15-45-90 นี้ได้ แต่ยังไงก็ยังขึ้นอยู่กับความแตกต่างกันของงาน เนื้อหาที่เรียน หรือสิ่งที่ทำด้วย เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การลองสังเกตนาฬิกาชีวิตของตัวเอง ว่าจริงๆ แล้วเรามีสมาธิช่วงไหนมากที่สุดและลองปรับวิธีการเรียนหรือการทำงานให้เข้าตามจังหวะมากขึ้น ก็จะช่วยให้สิ่งที่ทำอยู่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
สั่งซื้อหนังสือ สกิลขั้นเทพของนักบริหารเวลาที่รู้จักสมอง คลิก:
หากใครอยากรู้เรื่องลับ เกี่ยวกับการบริหารเวลา การหยุดพัก หรือการจัดการนาฬิกาชีวิตยังไงให้ดี ให้มีประสิทธิภาพเหมาะกับตัวเอง ขอแนะนำให้ลองทำจริงและเปลี่ยนไปหลายๆ แบบ จนกว่าจะเจอแบบที่ใช่ที่สุด ซึ่งหากใครอยากศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการจัดการเวลาเพิ่มเติม B2S CLUB ก็มีลิสต์หนังสือดีๆ ที่อยากจะมาแนะนำกันด้วยนะ
ทั้งเรียน ทั้งทำงาน ต้องใช้ความคิดเต็มไปหมด แล้วเราจะช่วยให้สมองหยุดพักบ้างได้อย่างไร? "คุงายะ อากิระ" แพทย์ด้านสมองชื่อดังชาวญี่ปุ่นจะพาเราออกสำรวจการทำงานของสมอง พร้อมทั้งแนะนำวิธีพักสมองตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่บุคคลชั้นแนวหน้าของโลกนำไปใช้อย่างได้ผลมาแล้ว!
สั่งซื้อ ศาสตร์ของสมอง ที่รู้จักหยุดพัก คลิก:
หลักสูตรฝึกอบรมที่ได้รับความนิยมสูงสุด สู่คู่มือบริหารเวลาที่ขาดไม่ได้สำหรับศตวรรษที่ 21 เวลา เนื้อหาในเล่มไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะช่วยให้ทำเช่นนั้นได้ในชั่วพริบตา แต่ต้องค่อยๆ ทำ ค่อยๆ จัดการ โดยแต่ละบทจะอัดแน่นด้วยเนื้อหา วิธีที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย แต่ต้องใช้พลังแห่งการลงมือทำให้เกิดขึ้นจริงด้วย
สั่งซื้อ เทคนิคบริหารเวลาสำหรับศตวรรษที่ 21 : The 5 Choices คลิก:
ในเล่มนี้ จะอธิบายตั้งแต่ที่มาของพลังสมาธิที่เราใช้ในการทำสิ่งต่างๆ วิธีดึงพลังสมาธิมาใช้ วิธีเพิ่มพลังสมาธิที่จะทำให้เราจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น รวมถึงเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงรู้สึกเหนื่อย ไม่ว่าใครก็สามารถมีพลังสมาธิสูงขึ้นได้ หากเริ่มฝึกฝนจากวิธีการต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ เมื่อมีพลังสมาธิสูงขึ้น เราจะรู้สึกว่ามีเวลาในการใช้ชีวิตมากขึ้นด้วยนั่นเอง
สั่งซื้อ ความลับของคนที่ไม่เคยเอางานกลับไปทำที่บ้าน คลิก:
หากเพื่อนๆ เหนื่อยล้ากับการบริหารเวลาในแต่ละวัน หนังสือเล่มนี้จะบอกวิธีที่เหมาะให้เอง "ซูซูกิ ยู" คือนักเขียนสายวิทย์ที่มีคนอ่านเพจกว่า 2.5 ล้านคนต่อเดือน เขาทุ่มเวลาศึกษางานวิจัยกว่า 4,063 ชิ้น เพื่อค้นหาว่า "วิธีบริหารเวลาแบบไหนดีที่สุด?" ในที่สุดเขาก็พบคำตอบแสนเรียบง่ายว่า "แต่ละคนมีวิธีเฉพาะในแบบของตัวเอง"
ดังนั้น แค่เลือกวิธีบริหารเวลาให้เหมาะ ชีวิตคุณก็จะง่ายขึ้นในพริบตา
สั่งซื้อ เพราะฉันแตกต่าง จึงบริหารเวลาแบบนี้ คลิก:
เป็นยังไงกันบ้างสำหรับเทคนิคการจัดการจังหวะเวลา และหนังสือดีๆ ที่นำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่กำลังเปิดเทอมนี้น้า ขอให้เจอจังหวะเวลาที่ใช่ของตัวเอง ขอให้จัดการทุกอย่างได้อย่างใจหวัง และไม่ลืมที่จะมีจังหวะช้าบ้าง เร็วบ้าง ให้ได้พักหายใจ ใช้ชีวิตแบบที่ชอบกันนะ