มิจฉาชีพอยู่รอบตัว แม้แต่เด็ก ๆ ก็อาจตกเป็นเหยื่อได้ โดยเฉพาะการล่อลวงให้ซื้อสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ หรือการโกงผ่านอินเทอร์เน็ต สำคัญมากที่พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้ทันและรู้วิธีเอาตัวรอดจากภัยเหล่านี้
หลายคนอาจมองว่าเรื่องนี้ไกลตัว แต่ความจริงแล้ว โลกโซเชียลและการจับจ่ายผ่านออนไลน์เข้าถึงเด็ก ๆ ได้ไวกว่าที่เราคิด
เมื่อลูกเริ่มโตเข้าสู่วัยประถม มีเงินไปโรงเรียน มีมือถือหรือแท็ปเล็ตและเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้เอง เท่ากับว่าภัยจากการล่อลวงก็ขยับเข้าไปใกล้ตัวลูกเช่นกัน
สิ่งแรกที่พ่อแม่ทำได้คือการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค ซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานที่คนไทยทุกคนควรรู้ และใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องสิทธิของตัวเองได้
ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ หรือคำบอกเล่าจากผู้ขาย เช่น ฉลากยา ฉลากบนอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ต้องบอกว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดอาการแพ้อะไรบ้าง วันที่ผลิต และวันหมดอายุ
ก่อนซื้อสินค้าหรือบริการ พ่อแม่ควรสอนให้เด็ก ๆ รู้จักอ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมีอันตรายในอาหาร สินค้าไม่ได้คุณภาพ ของเล่นใช้งานไม่ได้จริง เป็นต้น
ผู้ขายไม่มีสิทธิ์บังคับ ล่อลวง หรือหลอกให้เชื่อว่าจะได้ของฟรีหากซื้อสินค้าดังกล่าว โดยที่ผู้บริโภคไม่เต็มใจ เช่น การซื้อของเล่นกล่องสุ่ม การเติมเงินเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์
พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เห็นวิธีการที่มิจฉาชีพใช้ เพื่อให้รู้ทัน และไม่หลงเชื่อง่าย ๆ หากสงสัยให้รีบมาบอกพ่อแม่ไว้ก่อนเสมอ และสอนวิธีการพิจารณาให้ดีก่อนซื้อ ไม่ว่าจะเป็นการดูความน่าเชื่อถือของร้านค้า ดูรีวิวจากผู้ใช้งานจริง และจำไว้ว่าของถูกไม่ได้ดีเสมอไป
ถ้าลูกเริ่มเลือกซื้อของเล่นเอง พ่อแม่ควรสอนให้รู้จักวิธีสังเกตของเล่นที่ได้มาตรฐาน เช่น การอ่านฉลากสินค้า การพิจารณาของมีคม และราคาที่เหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นการสมัครเป็นสมาชิกร้านค้า ในกรณีที่เด็ก ๆ ถูกเสนอให้สมัครสมาชิกต่าง ๆ พ่อแม่ควรสอนให้ลูกอ่านเอกสารให้ถี่ถ้วนก่อนจะตอบตกลงหรือลงชื่อในเอกสาร เพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเอง
หากลูกโดนหลอกให้ซื้อโทรศัพท์ทางอินเตอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าจริง หรือสินค้าไม่ได้มาตรฐาน พ่อแม่ควรเป็นธุระในการใช้สิทธิข้อนี้ดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อเป็นแบบอย่างให้ลูกในการแก้ปัญหาด้วย อย่าเอาแต่ดุด่า แต่ไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ บทเรียนราคาแพงเหล่านี้จะสอนให้ลูกเติบโตและระมัดระวังขึ้นในครั้งตอ ๆ ไป
1. ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าทุกครั้ง
2. หมั่นติดตามข้อมูลสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อไม่ให้โดนหลอก
3. สอบถามข้อมูลสินค้าอย่างละเอียดกับผู้ขายเสมอ
4. ควรเปรียบเทียบปริมาณ ราคา และประโยชน์ของสินค้าก่อนซื้อทุกครั้ง
5. ไม่ควรซื้อสินค้าเพราะเห็นแก่ของแถมหรือลดราคาเพียงอย่างเดียว
6. หากสินค้าราคาแพง ควรรู้จักวิธีหาสินค้าทดแทน
7. ตรวจสอบใบเสร็จทุกครั้ง (หากสินค้ามีราคาแพงควรเก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน)
8. พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตสินค้า
9. หากโดนโกงไม่ควรเพิกเฉย ควรร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หากพบว่า เด็ก ๆ โดนโกง สามารถติดต่อไปยังหน่วยงานเหล่านี้ เพื่อขอคำปรึกษาและรับความช่วยเหลือในการดำเนินคดีตามกฎหมาย ได้แก่
• สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานนายกรัฐมนตรี โทร 0-2282-1661, 0-2282-4579
• สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0-2590-7154, 0-2591-8447
• สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมโทร. 0-2202-3428-9, 0-2202-3431
• กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0-2222-4953, 0-2222-0578, 0-2221-0847
• คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ