เพราะรักลูกมาก อยากให้เขาได้สิ่งที่ดีที่สุด แต่คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า นี่อาจกลายเป็นกับดักที่เผลอ “เลี้ยงลูกตามใจ” จนกลายเป็นโรค ‘ฮ่องเต้ซินโดรม’ ซึ่งพบมากในเด็กเล็กเจนนี้
ฮ่องเต้ซินโดรมคืออะไร
เป็นคำเรียกที่มีจุดเริ่มต้นจากชาวจีนในยุคมีลูกยาก พวกเขาทุ่มเททุกอย่างให้ลูกอย่างเต็มที่คล้ายกับการปรนนิบัติฮ่องเต้ จักรพรรดิจีนโบราณ แต่ในเชิงจิตวิทยา สิ่งนี้คือพฤติกรรมผิดปกติของเด็กที่พ่อแม่หรือผู้ดูแลตอบสนองอย่างรวดเร็ว และคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา โดยไม่เคยอดทนรอหรือออกปากขอ เพราะเข้าใจว่าการตอบสนองอย่างรวดเร็วเท่ากับการแสดงความรัก
วิธีเลี้ยงลูกแบบนี้มักเกิดขึ้นกับพ่อแม่ไม่เคยห้ามปรามหรือลงโทษลูก แม้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม รวมถึงพ่อแม่ที่ตามใจลูกทุกอย่างเพราะไม่อยากให้ลูกผิดหวัง
ฮ่องเต้ซินโดรมส่งผลเสียอย่างไร
เบื้องต้นการเลี้ยงลูกด้วยวิธีการนี้อาจไม่ส่งผลให้เห็นชัดเจนนัก เด็ก ๆ อาจดูน่ารัก ไม่ดื้อ ไม่ซน ไม่งอแงในสายตาพ่อแม่ แต่ความจริงแล้ว สิ่งนี้กำลังสร้างบุคลิกของคนเจนหนึ่งขึ้นมาในอนาคต หรือที่นักวิชาการเรียกกันว่า “สตรอว์เบอร์รี่เจนเนอเรชั่น” เด็กที่ดูภายนอกสวยงามแต่เปราะบาง เพราะเต็มไปด้วยปัญหาพฤติกรรมมากมาย ตัวอย่างเช่น
• เอาแต่ใจ ไม่ทำตามกฎกติกาของสังคมหรือข้อจำกัดใด ๆ สนใจแต่ความต้องการของตัวเองเท่านั้น
• ขาดการคิดไตร่ตรอง ลูกจะเติบโตโดยไม่เข้าใจเหตุและผลของสิ่งต่าง ๆ ทำให้เสี่ยงต่อการทำเรื่องแย่ ๆ ได้ง่าย
• ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ทำให้ลูกปรับตัวได้ยาก รักสบาย ไม่สามารถข้ามผ่านอุปสรรคปัญหาในชีวิตได้ เมื่อโดนขัดใจจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว โมโหรุนแรง
• ขาดความเคารพในตัวเองและผู้อื่น
• จัดการอารมณ์ไม่ได้ เมื่อรู้สึกผิดหวัง โกรธ หรือเสียใจ มักแสดงพฤติกรรมรุนแรงต่อตัวเองและผู้อื่น
เลี้ยงลูกแบบไหนให้พอดี ไม่เป็นฮ่องเต้ซินโดรม
ถ้ารักลูกมากไปกลายเป็นทำร้ายลูก คุณพ่อคุณแม่ควรเลี้ยงลูกอย่างไรให้เหมาะสม และห่างไกลจากภาวะฮ่องเต้ซินโดรม ขอแนะนำ 3 วิธีหลัก ๆ ที่ทำตามได้ดังต่อไปนี้
1. เล่นกับลูก มากกว่าซื้อของให้ลูกเล่น หรือใช้มือถือเลี้ยงลูก เวลาเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่มอบให้ลูกได้โดยไม่ต้อง ลงทุนใด ๆ สิ่งนี้ช่วยสานสายใยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ช่วงเวลานี้ลูกจะคอยดูสิ่งที่พ่อแม่คิด ลงมือทำ พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความรู้สึกกัน ซึ่งช่วยสร้างความไว้ใจและพฤติกรรมเชิงบวกที่เหมาะสมกับวัย
2. วางกฎกติกากับลูก เพราะนอกบ้านมีกฎกติกาของสังคมที่ลูกต้องเคารพและปฏิบัติตาม แต่ลูกจะทำได้หรือไม่ต้องเริ่มต้นจากที่บ้าน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องวางกฎง่าย ๆ เช่น สิ่งใดทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้ ฝึกฝนความมีระเบียบวินัย และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพื่อช่วยให้ลูกปรับตัวเข้ากับสังคมได้
3. อย่าใช้รางวัลต่อรองความสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่ควรให้รางวัลกับความพยายามของลูก แม้จะยังทำสิ่งนั้นไม่สำเร็จ แต่นี่คือกำลังใจที่ผลักให้ลูกพยายามและมุ่งมั่นต่อไป ทั้งนี้รางวัลไม่ใช่สิ่งของเท่านั้น คำชมง่าย ๆ เช่น ลูกทำดีแล้ว เก่งมากแล้ว ก็ถือเป็นรางวัลที่ดีได้
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการศึกษาวิธีเลี้ยงลูกให้เหมาะกับเด็กยุคใหม่ ลองอ่านไอเดียดี ๆ จากหนังสือเลี้ยงลูกและ นิทานดี ๆ เหล่านี้ค่ะ
เลี้ยงลูกด้วยการเล่น คลิก
เวลาอยากเล่นกับลูก บางครั้งพ่อแม่อาจคิดไม่ออกว่าควรจะเล่นอะไรดี หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมกลยุทธ์การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามธรรมชาติและสนับสนุนให้เด็กเล่น มาสู่คู่มือนำทางคุณพ่อคุณแม่ในการส่งเสริม กระตุ้น และขยายศักยภาพของลูกออกไปไม่สิ้นสุดเสมือนมีผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำอยู่ที่บ้าน
45 เทคนิคของคุณแม่ญี่ปุ่น เลี้ยงลูกคุณให้ดูแลตัวเองได้ คลิก
ถ้าลูกดูแลตัวเองได้ และพร้อมเติบโตในโลกใบนี้อย่างมีความสุข พ่อแม่อย่างเราคงดีใจที่สุด แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่ยังเล็ก หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวม 45 เทคนิคการเลี้ยงลูกแบบคนญี่ปุ่น ที่สามารถฝึกเด็ก ๆ ให้กล้าหาญ และทำอะไรด้วยตัวเองได้หลายอย่าง จนผู้ใหญ่อย่างเรายังต้องทึ่ง แต่จะด้วยวิธีไหนนั้น หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ
เลี้ยงลูกแบบไม่ดราม่า คลิก
เพราะการเลี้ยงลูกไม่ได้มีเพียงมุมสวยงาม แต่พร้อมเกิดดราม่าได้ทุกวัน หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นตัวช่วยดี ๆ ให้กับพ่อแม่ในการสื่อสารกับลูกอย่างสร้างสรรรค์ ไม่ต้องตี ไม่ต้องเสียน้ำตา พร้อมวิธีรับมือกับการแผลงฤทธิ์และความตึงเครียดได้อยู่หมัดและถูกต้อง เพื่อให้ทุกวันของการเลี้ยงลูกมีแต่ความสุขที่แท้จริง
เลี้ยงลูกอย่างไรให้เก่งดีมีสุข คลิก
เพราะวัยเด็กคือช่วงเวลาสำคัญต่อการพัฒนาสมอง และเป็นรากฐานต่อความสามารถเฉพาะตัวของบุคคลในช่วงวัยผู้ใหญ่ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเป็นอัจฉริยะทางด้านวิชาการ แต่มุ่งเน้นให้เป็นคนเก่งตามความถนัดของตนเอง มาร่วมค้นหาความฉลาดในตัวลูก เพื่อให้เขาเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์
อารมณ์นี้สีอะไรนะ คลิก
นิทานน่ารักที่สื่อสารกับเด็ก ๆ ให้รู้จักอารมณ์ของตัวเองก่อนที่จะควบคุมอารมณ์นั้นได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของเด็กรุ่นใหม่ เล่าผ่านเจ้าสัตว์ประหลาดหลากสี แต่ละสีจะแทนอารมณ์ต่างกันไป เช่น สีแดงแทนความโกรธ สีฟ้าแทนความเศร้า พร้อมสอดแทรกวิธีจัดการอารมณ์ด้วยตัวเองแบบน่ารัก ๆ ให้เด็ก ๆ ด้วย
ตี๋น้อยเอาแต่ใจ คลิก
เรื่องราวของตี๋น้อยที่ชอบเอาแต่ใจ สะท้อนนิสัยของเด็กหลาย ๆ คน เป็นนิทานที่จะสอนให้เด็ก ๆ รู้จักปรับปรุงตัว ฝึกนิสัยให้เป็นที่รักและเข้ากับสังคมได้