เบื่อแล้วกับการไปเที่ยวห้างใหญ่ใจกลางเมือง ต้องซื้อไลฟ์สไตล์หรูหรา อยากจะไปพักผ่อนในธรรมชาติ แต่ก็ไม่อยากต้องเดินป่าปีนเขาให้เหนื่อย มาลองเปิดโลกใหม่กับการออกแคมป์ปิ้ง ทางออกของคนอยากเที่ยวธรรมชาติแต่ไม่อยากออกกำลังให้ลำบาก เหมือนย้ายบ้านไปนั่งเล่นกลางลานกว้าง ฟังเสียงนก ลงเล่นน้ำลำธาร ชมวิวธรรมชาติ แถมยังมีกิจกรรมเบา ๆ ให้ทำ จะไปกับเพื่อน คู่รัก หรือครอบครัวก็ได้ทั้งนั้น เน้นความสะดวกสบายเป็นหลัก แต่ถ้าหากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ต้องเตรียมของเยอะไหม แบบไหนถึงจะดี มาค่ะ วันนี้ B2S CLUB มีตัวช่วยที่จะทำให้การเริ่มต้นแคมป์ปิ้งไม่ใช่เรื่องยาก
Camping Handbook คู่มือตั้งแคมป์สไตล์ญี่ปุ่น
เล่มนี้ เป็นคู่มือรวบรวมข้อมูลควรรู้สำหรับสายแคมป์ตั้งแต่ระดับมือใหม่ ไปจนถึงใครที่อยากเทิร์นโปร มีทุกรายละเอียดสำคัญตั้งแต่การเลือกเต็นท์ เลือกทำเล การดูแลรักษาอุปกรณ์ วิธีการรับมือกับทุกสภาพอากาศ เมนูชาวแคมป์ ที่เรียบง่ายแต่ดูดีสไตล์แคมป์เปอร์ญี่ปุ่น พร้อมเช็คลิสต์ที่จะช่วยให้คุณไม่ลืมหยิบอะไรไปซักชิ้น ใช้เล่มนี้ตั้งแต่วันจัดกระเป๋า จนถึงวันเก็บเต็นท์กลับบ้าน เอาอยู่แน่นอน!
วันนี้เราจะดึงตัวอย่างข้อมูลที่น่าสนใจจากหนังสือ ที่ใคร ๆ ก็อยากรู้ อย่างการเตรียมอุปกรณ์สำคัญที่ต้องมี พร้อมเทคนิคที่ต้องรู้ มาเล่าให้มือใหม่หัดตั้งแคมป์ได้พร้อมออกไปแคมป์ปิ้งได้อย่างไร้กังวล
คิมุระ โทคิจิใช้คติว่าการตั้งแคมป์เหมือนการสร้างบ้าน ต้องมีห้องนอน ห้องนั่งเล่น ที่สะดวกสบาย เต็นท์รับหน้าที่เป็นห้องนอนกลางแจ้ง ส่วนแผ่นรองนอนเปรียบเสมือนเตียง และถุงนอนเปรียบเสมือนผ้าห่ม ในขณะที่ทาร์ปเป็นดั่งห้องนั่งเล่น กันแดดกันฝน มีโต๊ะเก้าอี้สามารถใช้นั่งเล่นพักผ่อนหรือล้อมวงทานข้าวร่วมกันได้ และต้องมีส่วนห้องครัวสำหรับปรุงอาหารด้วย
มาแวะเปิดประตูดูแต่ละห้องว่าต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง มีวิธีเลือกอย่างไร และมีอะไรที่ต้องรู้กันบ้าง
ห้องนอน
เต็นท์ – สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือห้องนอน ประเภทของเต็นท์หลัก ๆ มี 3 แบบ
วิธีการเลือกเต็นท์ต้องประเมินจากจำนวนคน แต่เพื่อให้มีพื้นที่นอนสบายไม่อึดอัด พอมีที่ให้วางสัมภาระ ควรเลือกเต็นท์ที่จุคนได้มากกว่าจำนวนใช้งานจริง 1-2 คน มีความสูงพอให้ยืนได้ ทว่า เต็นท์ยิ่งใหญ่ยิ่งหนัก ฉะนั้นขนาดของเต็นท์จะแปรผันตามน้ำหนักและความยากง่ายในการกางด้วย
นอกจากนั้น ควรพิจารณาจากวัสดุ ซึ่งมีผลต่อน้ำหนักด้วยเช่นกัน ต้องเลือกให้เหมาะสมกับฤดูกาลและสภาพอากาศ โดยสามารถดูค่ากันน้ำหรือความหนาของผ้าเต็นท์ได้ ยิ่งค่ากันน้ำเยอะก็จะกันน้ำได้มากแต่น้ำหนักก็จะเพิ่มด้วย วัสดุที่ใช้ก็จะมีคอตตอน ระบายอากาศได้ดี เหมาะกับสภาพอากาศร้อน ๆ อย่างประเทศไทย แต่ดูแลยาก ส่วนพียู (Polyester) จะเหมาะกันฝนได้ดี
แต่การตั้งเต็นท์จะขาดค้อนกับสมอบกไปไม่ได้ เพื่อใช้สำหรับยึดเต็นท์ของเราไม่ให้ไหลไปตามกระแสลม หากไปในพื้นที่ดินทราย ควรใช้สมอบกในลักษณะแบน แต่ถ้าเป็นพื้นสภาพเป็นดินเหนียว ควรใช้สมอบกทรงกลม
แผ่นรองนอน – อุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้การนอนสบายขึ้นมาก เนื่องจากพื้นที่ตั้งแคมป์มักจะตะปุ่มตะป่ำ แข็ง ไม่เรียบหรือนุ่มนิ่มเหมือนเตียงที่บ้าน แผ่นรองนอนนี่แหละที่จะทำหน้าที่เสมือนเตียงให้เราให้นอนสบายขึ้น แถมยังทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน กักเก็บความอบอุ่นของร่างกายไม่ให้ถ่ายเทลงสู่พื้นดินในสภาวะอากาศหนาวเย็นได้ โดยดูจากค่า R-Value โดยทั่วไป แผ่นรองนอนจะแบ่งเป็น 3 ประเภท
แผ่นรองนอนพองลมอัตโนมัติ (Self-inflating pad) ภายในทำจากโฟมที่บีบอัดตัวได้ แทรกอยู่ในแผ่นวัสดุใยสังเคราะห์ ทำให้เวลาม้วนเก็บจะยุบตัวลง แต่เมื่อกางออก จะสามารถเด้งตัวออกเองพร้อมดูดอากาศเข้าไป หนาได้ถึง 4-8 ซม. เมื่อพับเก็บจะเล็กกว่าแบบโฟม แต่ใหญ่กว่าแบบเป่าลม ราคาแพงกว่าแบบโฟม ข้อเสียคือจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาที่ใช้ โครงสร้างโฟมพองตัวได้น้อยลง ดูดอากาศได้น้อยลง แต่เราสามารถใช้วิธีการเป่าลมเข้าไปเพิ่มเพื่อให้ใช้งานได้ปกติได้ ต้องระวังเรื่องของมีคมเช่นเดียวกับแบบเป่าลม
ถุงนอน - เปรียบเสมือนผ้าห่มนอนให้ความอบอุ่น แต่ในช่วงอากาศร้อน ถุงนอนอาจไม่จำเป็น นอนบนเตียงสนามจะเย็นกว่า ถุงนอนมีรูปทรง 4 แบบ ดังนี้
ห้องนั่งเล่น
ทาร์ป – อีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญ เพิ่มพื้นที่กลางเสมือนห้องนั่งเล่นให้ทุกคนสามารถมาใช้เวลาร่วมกันได้ เอาไว้พักผ่อนหย่อนใจ ล้อมวงนั่งพูดคุย และทานอาหารร่วมกัน กันแดดลมฝนให้เรา ควรเลือกจากวัสดุ ผ้าคอตตอนจะช่วยให้ร่มเงามากกว่า ให้ความเย็นมากกว่า ในขณะที่ผ้าพียูจะมีน้ำหนักเบากว่ามาก มีหลายแบบ ทั้งบาง หนา หรือเคลือบกันน้ำ แต่ปัจจุบันได้พัฒนาไปสู่ผ้าพีซี (Poly Cotton) นำเอาข้อดีของผ้าคอตตอนกับพียูมาผสมกัน
เก้าอี้และโต๊ะ – อย่าคิดว่าไม่สำคัญ เพราะการนั่งนอนบนพื้นดินพื้นหญ้าไม่ได้สะดวกสบายเสมอไป บางครั้งฝนตกหรือแดดแรงจัด พื้นอาจจะเปียกหรือร้อนเกินไปได้ ทั้งอาจจะมีรังมดแดงหรือแมลงตอมไต่ได้ง่าย ดังนั้นควรมีเก้าอี้ให้พอจำนวนคน ลองนั่งก่อนซื้อเพื่อให้ได้ตัวที่สบาย รับกับสรีระเรา ควรคำนึงถึงการพับเก็บได้ พกพาสะดวก และวัสดุที่ใช้
ไฟ – หากไม่มีไฟ การใช้ชีวิตในแคมป์ท่ามกลางธรรมชาติจะลำบากขึ้นและอันตรายด้วย ปัจจุบันนี้มีตัวเลือกไฟตะเกียงที่สะดวกสบายขึ้นกว่าการใช้ตะเกียงน้ำมันหรือตะเกียงแก๊สอย่างเก่าที่ต้องอาศัยความระมัดระวังอย่างมาก มีเป็นไฟ LED หลากหลายรูปทรง แถมยังชาร์จด้วยเพาเวอร์แบงค์เครื่องเดียวก็เอาอยู่ อย่างไฟฉายคาดหัวหรือไฟฉายส่วนตัวก็สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะเวลากลางคืน แต่อย่าลืมเอาถ่านไฟฉายสำรองไปด้วยล่ะ
ห้องครัว
กระติกเก็บความเย็น
กระติกรักษาความเย็นกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะรักษาสภาพวัตถุดิบให้ไม่เน่าเสีย ควรเลือกขนาดตามจำนวนคนที่ใช้ อาจจะแบ่งเป็นกระติกเครื่องดื่ม เก็บน้ำเย็น ๆ ไว้ดื่มให้ชื่นใจในสภาพอากาศร้อน และกระติกแช่อาหารเพื่อไม่ให้ปะปนกัน
อุปกรณ์ครัว
เมื่อพูดถึงการทานข้าว ห้องครัวก็จะขาดเครื่องครัวไปไม่ได้ แต่ไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งหมด เริ่มจากของที่มีอยู่แล้วในบ้าน แนะนำเป็นประเภทอลูมิเนียม เบา พกพาง่าย ทนไฟ ตกไม่แตก
เตาแคมป์ เตาย่าง & ฐานรองก่อกองไฟ
มีทั้งแบบเตาแก๊สกระป๋องหรือแบบก่อไฟด้วยฟืน ได้อารมณ์คนละแบบ เลือกตามความสะดวกของแต่ละคนได้เลย
ข้อควรรู้
การตอกสมอบก
การตอกสมอบกอย่างถูกวิธี ควรตอกทำมุม 45 องศาสวนทางกับเชือก เพื่อความแข็งแรง เพราะหากตอกลงไปในแนวเดียวกับเชือก หรือตอกตรง ๆ ทำมุม 90 องศาจากพื้นดินจะทำให้เต็นท์สู้ลมได้น้อยกว่า
การเลือกโลเคชันในการตั้งแคมป์
น้ำกับความชื้นเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงอันดับต้น ๆ ไม่ควรตั้งแคมป์ต่ำกว่าระดับน้ำ ไม่ขวางทางเดินหรือทางน้ำไหล ไม่ใกล้น้ำตกหรือแม่น้ำจนเกินไป ไม่อยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งหรือทิศทางลม และไม่อยู่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้รังมด เลือกพื้นที่ราบๆ ไม่ลาดเอียง อาจใช้การสังเกตหรือสอบถามคนในพื้นว่าน้ำขึ้นลงช่วงเวลาไหน สังเกตขอบตลิ่งว่าน้ำขึ้นสูงสุดเท่าไร เป็นต้น
วิธีรับมือกับอากาศร้อนและหนาว
ร้อน
หนาว
แค่นี้ก็คงพอจะเห็นภาพ และช่วยให้การเตรียมตัวของเราง่ายขึ้นใช่ไหมคะ? แต่จริง ๆ แล้ว ในคู่มือ Camping เล่มนี้ เต็มไปด้วยเทคนิคอีกมากมายหลายข้อ ที่มือใหม่อย่าง ๆ เรา ๆ ควรรู้ ไปจนถึงความรู้ล้ำ ๆ สำหรับมือโปร แม้แต่สูตรอาหารเมนูชาวแคมป์สไตล์ญี่ปุ่นก็ยังมีครบในเล่ม
ถ้าใครสนใจ ลองดูสารบัญในเล่มด้านล่างนี้ได้ก่อนเลย และใครอยากมีติดมือไว้สักเล่ม สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
รับรองว่าคุ้มค่าคุ้มราคา เป็นกูรูคอยตอบคำถามตั้งแต่วันจัดกระเป๋าไปจนถึงวันกลับบ้านได้ตลอดรอดฝั่งอย่างแน่นอน