ระวัง! ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยอัมพาต อันตรายถึงชีวิต
อัมพาต คือโรคหลอดเลือดในสมองแตก ตีบหรืออุดตัน ทำให้สมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสียหาย อาการแสดงได้ชัดคือกล้ามเนื้อแขน-ขาและลำตัวอ่อนแรงหรือเกร็งตัวผิดปกติ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดังเช่นคนทั่วไป หากไม่มีการป้องกันหรือรักษา ผู้ป่วยจะมีภาวะแทรกซ้อนและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
วันนี้ B2S CLUB และมหาวิทยาลัยหัวเฉียว จะพามาดูภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยอัมพาต เพื่อให้ผู้ดูแลมีการเฝ้าระวัง รู้เท่าทัน มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกต้อง
หากเกิดเป็นเวลานานโดยไม่มีการฟื้นฟู จะทำให้เกิดภาวะข้อต่อยึดติดตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวด ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดังเดิม ซึ่งสามารถป้องกันได้ โดยการทำกายภาพบำบัดด้วยการเคลื่อนไหวข้อต่อหรือยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับใช้ความร้อนบำบัดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
เกิดเนื่องจากมีแรงกดทับตรงตำแหน่งของร่างกายที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ทำให้การไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงบริเวณดังกล่าวไม่ดี เกิดเป็นแผลจากเนื้อตาย โดยเฉพาะตำแหน่งของปุ่มกระดูก เช่น ก้นกบ ส้นเท้า หัวไหล่ หัวเข่า แผลกดทับสามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนท่าทางให้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง นั่งหรือนอนบนเบาะลม
เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่อ่อนแรง น้ำหนักของแขนจะดึงให้ข้อไหล่หลุดหลวมเพราะไม่มีกล้ามเนื้อช่วยกระชับข้อ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดอักเสบรอบหัวไหล่ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการออกกำลังกล้ามเนื้อรอบข้อ ใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อต่อ และหลีกเลี่ยงการดึงแขนผู้ป่วยขณะเคลื่อนย้ายตัว
เพราะผู้ป่วยอัมพาตมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ สูญเสียการรับความรู้สึกและการทรงตัว ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะหกล้ม และเกิดภาวะกระดูกหักตามมา
เกิดจากการติดเชื้อและมีเสมหะคั่งค้างในถุงลม ทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อย มีไข้ สาเหตุมักเกิดจากการสำลักอาหารเข้าไปในทางเดินหายใจ การฝึกไอและฝึกหายใจจะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
มีสาเหตุมาจากระบบควบคุมกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ
เนื่องจากไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวขา ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี เกิดเป็นก้อนเลือดมาอุดกั้นในหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม อักเสบที่ตำแหน่งอุดตัน ปัญหาดังกล่าวป้องกันได้ด้วยการใส่ถุงน่องกระชับหรือฟื้นฟูให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวร่างกาย ลุกยืน-เดินให้ได้เร็วที่สุด
ผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ รู้สึกสิ้นหวัง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ความคิดที่จะฆ่าตัวตายได้
ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ถือเป็นภาวะที่อันตรายมาก ทางที่ดี ต้องคอยเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และให้ผู้ป่วย อยู่ภายใต้การรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 02-713-8100 ต่อ 1248