เมื่อพูดถึงวันสตรีสากลแล้วเห็นจะเลี่ยงไม่พูดถึงความเท่าเทียมทางเพศไม่ได้ ในสายธารประวัติศาสตร์อันยาวนาน ไม่ใช่เพียงแค่ผู้หญิงเท่านั้นที่ถูกกดขี่จากท่ามกลางความแตกต่างทางเพศในสังคมชายเป็นใหญ่ การเรียกร้องความเสมอภาคทางเพศ (Gender Equality) จึงเป็นมากกว่าการเรียกร้องสิทธิของผู้หญิง แต่หมายถึงความเท่าเทียมทางเพศทุกรูปแบบที่เป็นเรื่องของมนุษย์ทุกคน ผ่านเรื่องราวของ “หญิง” ที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนทั้งในระดับชุมชน ประเทศ หรือสร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมโลกไม่ว่าในมิติใดก็ตาม
เหตุใดเสียงของผู้หญิงถึงถูกทำให้เงียบงันในที่สาธารณะดังที่ปรากฏในในมหากาพย์โอดิสซีหรือในห้องประชุมงาน อะไรทำให้ผู้นำหญิงระดับโลกอย่างพระราชินีเอลิซาเบธที่หนึ่งหรือฮิลลารี คลินตัน ต้องพูดจาหรือแต่งกายเลียนแบบผู้ชายราวกับเป็น "คนสองเพศ" แล้วกระแส #MeToo ที่ผู้หญิงทั่วโลกลุกขึ้นมาเปิดเผยเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศจะท้าทายโครงสร้างอำนาจที่กดทับผู้หญิงมาหลายพันปีได้จริงหรือไม่
ผู้หญิง | อำนาจ ผลงานชิ้นเอกของ แมรี เบียร์ด นักประวัติศาสตร์ด้านอารยธรรมกรีก-โรมันโบราณ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จะพาเราย้อนกลับไปสืบค้นรากเหง้าความคิดและวัฒนธรรมที่อยู่เบื้องหลังแนวคิด ความเกลียดชังเพศหญิง ผ่านตัวอย่างอันชวนตื่นตาตื่นใจ ทั้งเทพปกรณัมกรีก ผลงานของเชกสเปียร์ ภาพเขียน และประติมากรรมชิ้นเอก ไปจนถึงเหตุการณ์ร่วมสมัยและประสบการณ์ตรงของเธอเอง
ถ้อยแถลงชิ้นนี้ชวนให้เราหันมานิยาม อำนาจ เสียใหม่ เพราะสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงคืออำนาจ หาใช่ผู้หญิง!
"คิมจียอง" เป็นชื่อสุดโหลในสังคมเกาหลี เหมาะสำหรับตัวละครผู้หญิงธรรมดา ๆ ที่จะเป็นตัวแทนผู้หญิงทุกคนได้ และที่หน้าปกหนังสือเบลอหน้าผู้หญิงคนหนึ่งก็เป็นเพราะตัวละครนั้นอาจเป็นใครสักคนในครอบครัวของเราก็ได้ น้องสาว พี่สาว แม่ หรือยาย ก็อาจล้วนเคยเป็น “คิมจียอง” คนนั้นก็ได้
คิมจียองที่มีชีวิตธรรมดา รับบทเป็นทั้งแม่และเมีย ดูแลลูก ดูแลสามี ดูแลครอบครัวสามี แต่น่าเศร้าที่ระหว่างเส้นทางชีวิตของผู้หญิงที่แสนธรรมดานั้นเอง กลับเป็นประสบการณ์ถูกกดขี่ที่ผู้หญิงทุกคนมีร่วมกัน
ไม่ว่าจะถูกกดขี่จากที่ทำงาน ถูกล่วงละเมิดจากเพื่อนร่วมงานชาย ถูกบีบบังคับให้ออกจากงานเพื่อให้สามีได้ทำงานต่อ หรือแม้แต่ต้องบอกลาตำแหน่งงานที่อยากทำเพียงเพราะต้องอุ้มท้องตั้งครรภ์
หนังสือได้สอดแทรกประสบการณ์ความกังวลของผู้หญิงที่แสดงออกผ่านการระมัดระวังตัวในที่สาธารณะ หรือประสบการณ์การทำหน้าที่เป็น ‘ผู้หญิง’ ในครอบครัวเข้าไปอีกด้วย
“คิมจียอง เกิดปี 82" จึงทำหน้าที่ตีแผ่สภาพชีวิตจริงของผู้หญิงธรรมดา ๆ ที่ต้องดิ้นรนในสังคมชายเป็นใหญ่ได้อย่างลึกซึ้ง ด้วยน้ำเสียงเรียบราบ แต่กระตุกใจผู้หญิงทั่วเกาหลี จนเกิดแรงกระเพื่อมและการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง นับเป็นหนังสือที่พลาดไม่ได้เลย
“หนูไม่ควรมาอยู่ที่นี่ หนูควรจะอยู่ที่โรงเรียนในอีกฝากหนึ่งของมหาสมุทร พวกคุณเอาความหวังมาฝากไว้กับเราคนหนุ่มสาว พวกคุณกล้าดียังไง” ประโยคในตำนานของ ‘เกรต้า ธุนเบิร์ก’ พลังของเด็กหญิงรุ่นใหม่ที่ปลุกกระแสสิ่งแวดล้อมจนทุกคนบนโลกต้องหันมอง เรื่องราวของเด็กหญิงชาวสวีเดนที่สร้างกระแสคลื่นของการรักษาสิ่งแวดล้อมให้พัดกระหน่ำและสร้างแรงกระเพื่อมไปทั่วโลกกับการกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าผู้นำหลายประเทศทั่วโลก บนเวทีการประชุมแก้ปัญหาโลกร้อน COP24 ครั้งที่ 24 หลากหลายประโยคของเกรตาถูกพาดหัวข่าวไปทั่วโลก กลุ่มคนรักษ์โลกจากทั่วทุกมุมโลกต่างยกย่องให้เกรต้าเป็นไอคอนของคนรุ่นใหม่ เป็นต้นแบบของเด็กรุ่นหลังที่ต้องอยู่กับความเปลี่ยนแปลงโลก เสียงเล็ก ๆ ของพวกเขาจึงต้องถูกรับฟัง หากอยากอ่านเรื่องราวของเด็กหยิงผู้เปลี่ยนโลกคนนี้เพิ่มเติมสามารถซึมซับเรื่องราวของเธอผ่านหนังสือ เกรต้า ธุนเบิร์ก คุณได้ยินเสียงฉันไหม
ญา-ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา เด็กหญิงวัย 14 ปี ผู้ริเริ่ม ผู้ผลักดัน เรียกร้อง และดำเนินการขอแก้ พ.ร.บ. สุขภาพจิต ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าพบจิตแพทย์ได้โดยไม่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง
เพราะเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องของคนทุกวัย เฉกเช่นเดียวกับอาการป่วยไข้ทางกาย เด็ก ๆ มากมายที่กำลังประสบกับปัญหารายล้อมรอบตัว แต่ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร แม้แต่ครอบครัวที่ควรจะเป็นที่พึ่ง ก็อาจเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาได้เช่นกัน ดังนั้นแล้ว หนึ่งเสียงของญาจึงได้พยายามร้องกู่ก้องเพื่อส่งสารไปยังเด็ก ๆ ว่าปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเรามีสิทธิที่จะได้รับการดูแลรักษาโดยไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เพราะบางครั้งผู้ใหญ่ก็ใช้มาตรวัดของตัวเองตัดสินไปแล้วว่าปัญหาของพวกเขาไม่สลักสำคัญอะไร และสะกิดผู้ใหญ่ให้ช่วยเหลือเด็ก ๆ ได้ทันท่วงที อ่านเรื่องราวการเดินทางผลักดันจาก ญา-ปราชญา เพิ่มเติมได้ที่หนังสือ Changemaker เสียงเล็ก ๆ ของเด็กเปลี่ยนโลก
Becoming หนังสืออัตชีวประวัติของ "มิเชลล์ โอบามา" ถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตของเธอตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก กระทั่งช่วงชีวิตหลังพ้นตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง แต่ทุบสถิติยอดขายพุ่งทะลุล้านในอเมริกาอย่างรวดเร็วเพียงสัปดาห์แรก ขึ้นแท่น New York Time Best Seller ได้ไม่ยาก และได้รับการแปลไปแล้วกว่า 45 ภาษา รวมแล้วยอดขายทั่วโลกทะลุสิบล้านในเวลาแค่ไม่กี่เดือน
ที่หนังสือเล่มนี้เข้าถึงหัวใจผู้คนทั่วโลก หาใช่เพราะเป็นเรื่องราวยิ่งใหญ่ของวีรสตรีผู้กล้าผู้ต่อสู้รากเลือดในแบบที่เราคุ้นหูคุ้นตา แต่เป็นการผจญภัยของผู้หญิงธรรมดา ๆ ที่ดั้นด้นจนพบความสง่างามในความไม่สมบูรณ์พร้อมของชีวิต ณ เวทีสูงสุดที่เธอได้เหยียบยืนที่เรียกว่า "ทําเนียบขาว" คุณยังจะได้เข้าใจคําว่าการเมืองในอีกมุมหนึ่ง อาจเป็นแง่มุมที่มีความเป็นมนุษย์ที่สุดเท่าที่คุณเคยได้สัมผัส คุณจะถูกดูดเข้าไป ณ ใจกลางแรงเหวี่ยงอันเนิบนาบ แต่พลิกผันพริบตาของการไล่ล่าความสําเร็จด้วยอุดมการณ์และชัยชนะที่แตกต่างไม่เหมือนเรื่องราวไหน ๆ
แต่ที่คนยังไม่รู้คือทั้งหมดนั้นเริ่มต้นที่เด็กหญิงผิวสีตัวน้อยๆ ที่วันๆ ขลุกอยู่ในอพาร์ตเมนต์คับแคบของครอบครัวซึ่งเป็นโลกทั้งใบของเธอ ที่ละแวกบ้านของเธอ โรงเรียนของเธอ ไปจนถึงประวัติศาสตร์ด้านเชื้อชาติที่ยาวนานซับซ้อนและยังเต็มไปด้วยวิกฤติของประเทศชาตินั้นไม่ได้ให้ความหวังหรือยืนยันในอนาคตที่รุ่งโรจน์สําหรับเธอเลย
สิ่งเดียวที่เธอมีคือครอบครัวที่เฝ้าย้ําให้เธอมั่นใจว่า “เธอดีพอ” สําหรับทุกสิ่งที่เธอปรารถนา
Becoming จะพาคุณดำลึกสู่จิตวิญญาณดวงหนึ่งของบุคคลแห่งประวัติศาสตร์ ขณะที่เธอเพียรพยายามใช้ชีวิตอย่างเป็นตัวเอง ระดมจุดแข็งและสุ้มเสียงของเธอเพื่อรับใช้อุดมคติสูงส่งหลายอย่าง นี่คือเรื่องราวอันอาจหาญจริงใจที่ท้าทาย ให้ผู้อ่านทั้งหลายขบคิดว่า "เราเป็นใคร และอยากจะเป็นใคร"
อ่าน Becoming ต่อที่นี่
“ความสามารถในการปรับตัวเป็นคุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ แต่ยิ่งปรับตัว ฉันก็ยิ่งรู้สึกเป็นมนุษย์น้อยลง”
นวนิยายเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตจริงของ มาร์กอท เวิล์ค (Margot Wölk) ผู้รับหน้าที่สำคัญเป็นผู้ชิมอาหารให้กับฮิตเลอร์ เพื่อให้แน่ใจว่าในอาหารไม่มียาพิษ ซึ่งในบรรดาหญิงสาวทั้ง 15 คนที่ทำหน้าที่นี้นั้น เวิล์คเป็นคนเดียวที่รอดชีวิตจากสงคราม และเสียชีวิตเมื่อปี 2014 ในวัย 96 ปี
ท่ามกลางสงครามอันโหดร้าย เหล่าผู้หญิง คนแก่ คนพิการ LGBTQI+ และคนชายขอบ ถูกฮิตเลอร์นิยามให้เป็นเพียงมนุษย์เปราะบางที่ไร้ค่า ต้องถูกเกณฑ์มาใช้แรงงาน หรือหากไม่สามารถทำงานได้ก็จะถูกกำจัดทิ้ง ด้วยเหตุนี้ ฮิตเลอร์จึงใช้ผู้หญิงเป็นป้อมปราการด่านหน้าในการชิมอาหาร เผื่อว่ามียาพิษ ผู้หญิงเหล่านี้ก็จะสังเวยชีวิตแทนตัวเขาเอง
โรซา เซาเออร์ ตัวละครเอกของเรื่องเป็นหญิงสาวชาวเบอร์ลิน สงครามทำให้เธอต้องทิ้งเมืองหลวงไปอาศัยอยู่กับพ่อแม่สามีในหมู่บ้านชนบท โดยหารู้ไม่ว่าหมู่บ้านในปรัสเซียตะวันออกแห่งนั้นตั้งอยู่ใกล้กับกองบัญชาการลับของฮิตเลอร์ ทำให้เธอถูกเรียกตัวไปทำหน้าที่เป็นคนชิมอาหารให้ฮิตเลอร์เช่นเดียวกับหญิงสาวอีก 9 คน ระหว่างพวกเธอเกิดทั้งมิตรภาพและความอิจฉาริษยา นอกจากนั้นโรซายังมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับนายทหารหน่วยเอสเอสคนหนึ่งขณะที่สามีของเธอไปรบในรัสเซีย
ผู้เขียนเจาะลึกลงไปในความสัมพันธ์อันคลุมเครือของมนุษย์ หาความหมายของการคงความเป็นมนุษย์ โดยเล่าเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เปราะบางเผชิญกับความรุนแรงของประวัติศาสตร์และแข็งแกร่งเมื่อเผชิญกับความปรารถนาแห่งวัยสาว
คลิกเพื่อสั่งซื้อ หญิงสาวผู้ชิมอาหารให้ฮิตเลอร์
มายาคติที่ว่า ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของคนเพศหลากหลาย แต่เมื่อมองดูให้ลึกเข้าไปถึงค่านิยม โครงสร้าง เหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศที่ผ่านมา จะรู้ว่าประโยคด้านบนเป็นคำกล่าวที่เกินจริงไปมาก
หนังสือ ‘บันทึกกะเทยอีสาน’ โดย ปณต ศรีนวล ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการประจำ GendersMatter บอกเล่าความเจ็บปวดที่คนข้ามเพศต้องประสบเป็นอย่างดี พูดถึงชีวิตส่วนตัวของปณตตั้งแต่เด็กจนโต สะท้อนปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ ปัญหาการเข้าไม่ถึงการศึกษาของคนต่างจังหวัด รวมถึงปัญหาความแร้นแค้นในพื้นที่ทางภาคอีสานที่รัฐไม่เคยเข้าไปจัดการอย่างจริงจัง
เป็นกะเทยว่าไม่ง่ายแล้ว แต่เป็นกะเทยอีสานนี่สิ ไม่ง่ายยิ่งกว่า! ตอกหมุดการยืนหยัดเพื่อสิทธิของเพศหลากหลายไทยให้มีสิทธิ มีเสียง มีเสรีภาพในร่างกายและมีกฎหมายที่รองรับว่าพวกเธอเท่าเทียม อ่านเรื่องราวของปณตเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3HVJmuZ
หนังสือติดอันดับขายดีของ New York Times เล่มนี้จะสะกิดให้เราทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของ "ความเท่าเทียม" และ "ความเหลื่อมล้ำ" ว่ามีผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างไร โดยเฉพาะ "ผู้หญิง" และ "เด็กหญิง"
อย่าคิดว่าหนังสือเล่มนี้เขียนมาเพื่อผู้หญิงเท่านั้น นี่คือหนังสือสำหรับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัยที่ต้องการเห็นโลกใบนี้ดีขึ้นและน่าอยู่กว่าที่เป็น ณ ปัจจุบัน
เพื่อความเสมอภาค ไม่ใช่มากกว่า หรือน้อยกว่า แต่ “เท่ากัน” เราอยากให้คุณลองเปิดใจ วางบทบาทนักธุรกิจหญิงมือฉกาจของ เมลินดา เกตส์ไว้ก่อน แล้วค่อยๆ เปิดอ่านทีละหน้า แล้วคุณจะสัมผัสถึงความเป็นมนุษย์ธรรมดาของผู้หญิงคนหนึ่งที่ปรารถนาอย่างสุดหัวใจให้ทุกคนบนโลกมีสิทธิ์ มีเสียง และมีอำนาจในการกำหนดบทบาทชีวิตตัวเองได้อย่างเท่าเทียมกัน
อ่าน ปลุกพลังหญิงให้ยิ่งใหญ่ THE MOMENT OF LIFT
"เกิดเป็นหญิง เริดบ้าง ร้ายบ้าง ดีออก!" หนังสือที่ตะโกนเรื่อง "สิทธิสตรี" และ "ความเท่า (ที่โคตร) เทียม" ได้ดังที่สุด! นำเสนอในรูปแบบการ์ตูนผสมบทความ พร้อมเนื้อหากระแทกสังคมสะท้อนโลกปิตาธิปไตยหรือชายเป็นใหญ่ของเกาหลีได้อย่างถึงพริกถึงขิง สอดแทรกด้วยบทความจากประสบการณ์ของนักเขียน และสังคมจริงที่จะเปิดหูเปิดตาผู้อ่านทุกท่านสู่โลกที่ถูกริดรอนสิทธิสตรี แล้วคุณจะรู้ว่าผู้หญิงอดทนกับความเหลื่อมล้ำบนโลกใบนี้มามากกว่าที่คุณคาดคิด เพราะโลกนี้มันอยู่ยาก ไม่ร้ายบ้างก็คงไม่รอด!
ความเหลื่อมล้ำทางเพศไม่ไกลอย่างที่คิดหรอก ถึงเวลาต้องศึกษาศาสตร์ของนางมารร้ายเพื่อสิทธิของพวกคุณ หมดเวลาถูกคุกคาม กดขี่ ข่มขู่ ลวนลาม ความรุนแรงแล้ว มาเปิดหนังสือสุดแสบและแซ่บสะเทือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เล่มนี้ แล้วเปิดใจให้กว้าง ๆ พร้อมเริ่มต้นทำความเข้าใจผู้หญิงกันใหม่และเข้าใจกันและกันให้มากขึ้นเถอะนะ!
สั่งซื้อ เกิดเป็นหญิง เริดบ้าง ร้ายบ้าง ดีออก!
หนังสือที่เขียนโดยผู้หญิงที่ต้องดูแลแม่เป็นอัลไซเมอร์
หนังสือเล่มที่เขียนโดยผู้หญิงผู้เป็นโรคซึมเศร้า แต่อยากมีชีวิตอยู่เพื่อกินต๊อกบกกี
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย เจสสิก้าจอง บอกเล่ามุมมืดของวงการเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีที่เขียนโดยอดีตสมาชิกวงเกิร์ลกรุ้ปชื่อดัง
หนังสือเล่มนี้รวม 100 เรื่องราววีรกรรมของหญิงสาวผู้กล้าหาญ ร้อยเรียงเรื่องจริงของ "100 ผู้หญิงธรรมดาที่ไม่ธรรมดาของโลก" ผู้กล้าคิดนอกกรอบและคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็น เจน ออสเตน, เซเรนา และวีนัส วิลเลียมส์, ฟรีดา คาห์โล, มาลาลา ยูซัฟไซ, โคโค่ ชาแนล, มาร์กาเรต แทตเชอร์, อองซาน ซูจี, ฮิลลารี คลินตัน และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ (เด็ก) ผู้หญิง ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเองและสร้างสิ่งที่มีคุณค่าให้กับโลก เพราะผู้หญิงเป็นผู้นำได้ ทั้งเป็นผู้นำชีวิตตนเองและสังคม กล้าต่อสู้เมื่อเผชิญกับความไม่ยุติธรรม เพื่อสร้างโลกที่เพศไม่ใช่สิ่งกำหนดว่าคุณจะฝันได้ยิ่งใหญ่แค่ไหน หรือไปได้ไกลเพียงใด ที่สำคัญ นิทานเล่มนี้วาดภาพประกอบโดยศิลปินหญิง 60 คนจากทั่วทุกมุมโลก และเป็นต้นฉบับหนังสือที่ผู้คนช่วยบริจาคเงินมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการระดมทุน
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักธุรกิจหญิงสุดแกร่ง