รักลูกสุดหัวใจ แต่บางทีแม่ก็เหลืออด เผลอหงุดหงิด ตะคอกเสียงดัง หรือพลั้งมือ “ตีลูก” ดังเปรี๊ยะ โดยไม่ตั้งใจ พอเห็นน้ำตาลูกก็กลับมานั่งเสียใจ ร้องไห้คนเดียว
ไม่มีแม่คนไหนอยากเป็นนางยักษ์ในสายตาลูก แต่ด้วยภารกิจมากมายในแต่ละวัน ไหนจะงานประจำนอกบ้าน งานบ้านที่ต้องดูแลกันเอง เชื่อว่าครอบครัวแบบไหนก็มีโอกาส “สติหลุด” เกิดอารมณ์หงุดหงิด โมโห จนไปลงกับลูกได้
คำพูดร้าย ๆ และพฤติกรรมรุนแรงนี้สร้างรอยแผลในใจลูก มีผลทำให้เด็กรู้สึกไม่เชื่อมั่นในความรักที่พ่อแม่มีให้ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง กลายเป็นเด็กขี้กลัวและเครียดง่าย อย่างแย่ที่สุด ส่งผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม คือลูกดื้อมากขึ้น ต่อต้านมากขึ้น นำไปสู่การใช้ความรุนแรงทั้งในและนอกบ้าน
การห้ามความรู้สึกโมโหแบบ 100 % คงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ทันที แต่คุณแม่สามารถค่อย ๆ ปรับลดอารมณ์โกรธให้เบาลง ไม่เหวี่ยงวีนได้ ด้วยการทำตาม 5 ขั้นตอนตามลำดับง่าย ๆ ดังนี้
ถ้าลูกน้อยงอแง ดื้อ ไม่เชื่อฟัง หรือทำพฤติกรรมแย่ ๆ ก่อนที่คุณแม่เผลอเหวี่ยงออกไป ลองหายใจเข้าลึก ๆ ตั้งสติก่อนเพื่อรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง แต่หากรู้สึกว่าอดใจไม่ไหว ให้เดินออกมาจากพื้นที่นั้น (โดยพิจารณาแล้วว่าลูกปลอดภัย) มานั่งสงบใจเงียบ ๆ ให้ใจเย็นลงก่อน
ก่อนจะปล่อยให้ความโมโหครอบงำจนกลายเป็นนิสัยติดตัว คุณแม่ต้องนั่งคิดหาว่าอะไรคือสาเหตุแท้จริงที่ทำให้รู้สึกหงุดหงิดลูกบ่อย ๆ เช่น โมโหเพราะลูกไม่ตั้งใจทำการบ้าน เราคาดหวังกับลูกมากไป หรือพักผ่อนน้อยเกินไป พอลูกงอแงหนักจึงไม่อาจทนไหว เพื่อหาทางแก้ไขได้ตรงจุด
หากยังรู้สึกโกรธจนควันออกหู มองอะไรขวางหูขวางตาไปหมด ขอให้หยุดตัวเองไว้อย่าเพิ่งพูดอะไรกับลูกทั้งนั้น เพื่อไม่ให้คำพูดร้ายๆ หลุดออกไปทิ่มแทงใจลูก
เด็ก ๆ เข้าใจเรื่องราวได้ง่ายกว่าที่เราคิด หากเขาทำสิ่งที่ผิด คุณแม่สามารถบอกได้ด้วยเหตุผล ใช้น้ำเสียงสงบ ไม่ใส่อามรณ์ ว่า “ตอนนี้แม่กำลังโกรธอยู่นะ” เพราะลูกทำแบบนี้ และบอกไปว่าต้องการให้ลูกทำอะไร จากนั้นนั่งรออย่างสงบ ไม่นานลูกก็จะยอมทำตามที่คุณแม่บอก เพราะท้ายที่สุดแล้ว ลูกก็ไม่อยากโดนแม่โกรธแน่นอน
บางครั้ง แม้จะคุมอารมณ์ตัวเองดีแค่ไหน แต่เหตุการณ์บางอย่างอาจทำให้เหลืออด เผลอแปลงร่างเป็นแม่ขี้เหวี่ยง ฉะนั้นตอนที่รู้สึกโมโหขอให้บอกกับตัวเองว่า ยิ่งพูดไม่ดีกับลูกมากเท่าไร ลูกยิ่งเสียใจมากขึ้นเท่านั้น ไม่มีเด็กคนไหนอยากอยู่กับคนอารมณ์ร้าย ลูกอาจแสดงอาการต่อต้าน สายตาที่มองแม่ช่างห่างเหิน และไม่อยากอยู่ใกล้ สิ่งนี้ทำร้ายจิตใจแม่มากทีเดียว นอกจากนี้ลูกอาจเลียนแบบพฤติกรรมไปใช้กับเพื่อนและติดเป็นนิสัยได้
หากคุณแม่ฝึกควบคุมอารมณ์แบบนี้เป็นประจำ ความขี้เหวี่ยง ขี้โมโหก็จะหายไปกลายเป็นคุณแม่นางฟ้าที่ลูกรักที่สุดในโลก ส่วนใครที่อยากหาวิธีการรับมืออารมณ์โกรธและพฤติกรรมไม่น่ารักของลูก ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือดี ๆ เหล่านี้เลยค่ะ
พอมีลูกแล้ว ชีวิตส่วนตัวของคุณถูกขโมยไปเกือบหมดใช่ไหม! ยิ่งเมื่อลูกอายุ 0-5 ขวบถือเป็นช่วงที่ท้าทายมาก พ่อแม่ถึงขั้นกุมขมับ เพราะไม่รู้จะรับมือกับพฤติกรรมของลูกอย่างไร หนังสือเล่มนี้จะแนะนำวิธีการรับมืออย่างสบาย ๆ ไม่เข้มงวด พร้อมทั้งยกตัวอย่างผลลัพธ์จากการเลี้ยงดูที่เข้าใจง่าย บ้านไหนก็ทำตามได้ รวมทั้งอธิบายถึงพัฒนาการ และวิธีปรับพฤติกรรมของเด็ก แทนที่จะพยายามปราบพยศหรือควบคุม
ซื้อเล่มนี้ คลิก
หนังสือสำหรับพ่อแม่ที่มีปัญหาเรื่องการจัดการอารมณ์เวลาต้องเลี้ยงดูลูก และรู้สึกผิดที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่อยู่ จนนำไปสู่การตีหรือทำร้ายลูกโดยไม่ตั้งใจ มาพร้อมวิธีระงับความโกรธแบบง่ายๆ ทำตามได้จริง พร้อมเจาะลึกกรณีตัวอย่างต่าง ๆ ที่พ่อแม่ทุกคนต้องพบเจอ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณรู้เท่าทันอารมณ์และเลี้ยงลูกอย่างมีความสุข
ซื้อเล่มนี้ คลิก
หนังสือนิทานให้ลูกอ่าน แต่สอนใจพ่อแม่ได้เป็นอย่างดี พาเด็ก ๆ ไปพบกับเรื่องราวของครอบครัวเพนกวิน ในเช้าวันหนึ่ง เมื่อแม่เพนกวินโมโหมากจนตวาดลูกเสียงดัง ดังมากจนทำเอาตัวลูกเพนกวินน้อยแยกเป็นหลายชิ้นส่วน กระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั้งในป่า บนภูเขา และไปไกลถึงนอกโลก แล้วเจ้าเพนกวินน้อยจะทำอย่างไรต่อไป... หนังสือนิทานสี่สี ภาพประกอบน่ารัก ชวนติดตาม เสริมสร้างทักษะการอ่านไปพร้อมกับส่งเสริมความผูกพันในครอบครัว
ซื้อเล่มนี้ คลิก
ตัวอย่างวิธีการเลี้ยงลูกที่ได้ชื่อว่า Best of the Best สำหรับลูกวัยเด็กอนุบาล–ประถมศึกษา รวบรวมเอา 100 หลักการสำคัญจากงานวิจัยต่าง ๆ รวบรวมมาเป็นคู่มือเล่มนี้ เพื่อเลี้ยงลูกให้มีทักษะเพื่อการอยู่รอดในสังคมยุคใหม่ ผลงานจากคุณแม่และนักเขียนที่เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกและการศึกษา กระซิบบอกสักนิดว่าขายดีมากที่ประเทศญี่ปุ่น และด้วยวัฒนธรรมเอเชียที่ไม่ต่างกันมากนัก คุณพ่อคุณแม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ไม่ยาก
ซื้อเล่มนี้ คลิก
หนังสือสองภาษาไทย-อังกฤษที่จะช่วยให้ลูกเข้าใจว่าทำไมพวกเขาต้องเชื่อฟังพ่อแม่ และช่วยพ่อแม่ตอบคำถาม ไขข้อข้องใจของเด็ก ๆ ซึ่งช่วยลดความไม่เข้าใจและความขัดแย้งในครอบครัวได้ไม่น้อยทีเดียว
ซื้อเล่มนี้ คลิก