แม่ท้องได้เฮ กฎหมายเปิดช่องให้ลาคลอดเพิ่มได้อีก 8 วัน ให้มีเวลาอยู่กับลูกนานขึ้นและดูแลสุขภาพหลังคลอด ลาคลอดเริ่มนับวันไหน คิดค่าจ้างอย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อมกัน
สิทธิลาคลอดเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณแม่ใกล้คลอดให้ความสนใจ เพราะเป็นช่วงเวลาทองที่จะได้ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดใน 3 เดือนแรกของชีวิต ทั้งการให้นมแม่ การมอบความรัก และการสร้างสายสัมพันธ์ของแม่ลูก ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการต่าง ๆ ของในอนาคต
เดิมทีกฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างที่ใช้สิทธิประกันสังคมสามารถลาคลอดได้ 90 วัน แต่ดูเหมือนว่าช่วงเวลานั้นอาจยังไม่เพียงพอสำหรับคุณแม่ที่ต้องทุ่มเวลาให้กับลูกจนแทบไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเอง ล่าสุดกฎหมายประกันสังคมได้เพิ่มสิทธิวันลาคลอดให้อีก 8 วัน อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลายคนอาจยังมีความกังวลใจว่าจะใช้สิทธิลาคลอดอย่างไร การลาไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดนับรวมด้วยหรือไม่ ต้องคลอดก่อนจึงมีสิทธิ์ลา หรือหากวันลาคลอดตรงกับวันหยุดประจำปี วันหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันพักผ่อนประจำปีจะนับรวมด้วยหรือเปล่า
วันลาคลอดนับอย่างไร
สิ่งแรกที่คุณแม่ต้องรู้คือวันลาคลอดไม่นับรวมกับวันลาป่วย ฉะนั้นจึงไม่สามารถใช้วันลาป่วยมานับรวมเป็นการลาคลอดได้ หากคุณแม่ใช้สิทธิ์วันลาคลอดครบตามวันที่กำหนดแล้วเกิดเจ็บป่วยไม่สบายก็ต้องใช้สิทธิ์วันลาป่วยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับวันลาคลอดที่กำหนดไว้ 98 วัน คุณแม่สามารถใช้ 8 วันที่เพิ่มมานี้เพื่อลาพบแพทย์ช่วงก่อนคลอดจนถึงตรวจสุขภาพหลังคลอดได้ (เดือนละ 1 ครั้ง) โดยใช้สิทธิลาคลอดนั่นเอง
สำหรับการลาคลอดจำเป็นต้องลาล่วงหน้า โดยคุณแม่อาจประเมินจากกำหนดคลอดที่แพทย์แจ้งไว้ ในรายที่วางแผนผ่าคลอด แนะนำให้แจ้งวันลาคลอด โดยนับล่วงหน้าวันที่ไปโรงพยาบาลสัก 1 วัน เพื่อเตรียมความพร้อม ส่วนคุณแม่ที่เจ็บท้องคลอดและคลอดธรรมชาติคงยังกำหนดวันแน่นอนไม่ได้ ดังนั้นขอให้นับวันลาคลอดตั้งแต่วันที่เข้าโรงพยาบาลเป็นต้นไป โดยการลาคลอดจะนับแบบรวดเดียว 90 วัน ไม่สามารถแบ่งเป็นช่วงได้ และควรยื่นสิทธิลาคลอดล่วงหน้า 30 วัน
ช่วงลาคลอดรับค่าจ้างอย่างไร
กฎหมายระบุว่า นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหญิงในวันลาคลอดเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาไม่เกิน 45 วัน และเมื่อวันลาคลอดเพิ่มขึ้น 8 วัน บริษัทต้องจ่าย = 45 + 8 วัน แต่หากพนักงานไม่ได้ใช้สิทธิลาคลอดเพื่อตรวจครรภ์จำนวน 8 วัน บริษัทจะจ่ายแค่ 45 วันเท่านั้น
คุณพ่อลาคลอดได้หรือไม่
อีกหนึ่งความปรารถนาของคุณแม่มือใหม่ที่อยากให้คุณสามีอยู่ใกล้ชิดช่วงหลังคลอด นอกจากจะช่วยแบ่งเบาการดูแลลูกน้อยแรกเกิด ยังช่วยให้คุณแม่ได้มีเวลาพักผ่อนเพียงพอที่จะฟื้นฟูร่างกายของตัวเอง ซึ่งส่งผลดีต่อปริมาณน้ำนมและสภาพจิตใจของคุณแม่อย่างมาก
ปัจจุบันคุณพ่อคนไทยสามารถลาคลอด และยังได้รับเงินเดือนตามปกติเฉพาะผู้ที่มีอาชีพข้าราชการเท่านั้น โดยให้สิทธิ์ลาได้ไม่เกิน 15 วัน และต้องลาภายใน 30 วันแรกนับแต่คุณแม่คลอดลูกน้อยเท่านั้น ส่วนคุณพ่อที่ทำงานในบริษัทเอกชนยังไม่มีกฎหมายรองรับสวัสดิการในส่วนนี้
แม้คุณพ่ออาจไม่ได้มีเวลาดูแลคุณแม่และลูกน้อยตลอดวัน แต่หลังจากเลิกงาน เพียงคุณพ่อกลับมาช่วยแบ่งเบาภาระจากงานบ้านผลัดมือในช่วงที่คุณแม่ไปอาบน้ำหรืองีบหลับ หรือตื่นกลางดึกมาเปลี่ยนผ้าอ้อม กล่อมลูกนอนบ้าง เพียงเท่านี้ยืนหนึ่งในใจคุณแม่แล้วล่ะค่ะ
สำหรับคุณแม่ใกล้คลอดที่อยากเตรียมพร้อมในการดูแลลูกและการเป็นคุณแม่มือใหม่ให้ดีที่สุด สามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากหนังสือเหล่านี้ค่ะ
คู่มือตั้งครรภ์-คลอด สไตล์คุณแม่ญี่ปุ่น
คัมภีร์รวบรวมทุกเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อยากรู้ ตั้งแต่การเริ่มตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์กับการพัฒนาการเติบโตในแต่ละเดือน ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่ การใช้ชีวิตเป็นแม่ที่สวย และคลอดง่าย การคืนน้ำหนักและรูปร่างหลังคลอด มีภาพประกอบสีสันสวยงามตลอดเล่ม เข้าใจง่าย มาพร้อมแผ่นพับใหญ่ซึ่งเป็นตารางบันทึกพัฒนาการของครรภ์ในแต่ละสัปดาห์
สั่งซื้อ คลิก
เทคนิคปิดก๊อกน้ำตา
ตอบทุกข้อสงสัยของพ่อแม่มือใหม่ พร้อมทั้งเผยเทคนิคเลี้ยงดูทารกในทุก ๆ แง่มุม ไม่เพียงช่วยให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้และกลับมามีความสุข แต่ยังช่วยให้พวกเขาเติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์
สั่งซื้อ คลิก
วิธีกล่อมลูกน้อยให้หลับตลอดคืน
"การนอนให้พอ" เป็นเรื่องท้าทายที่สุดของการเลี้ยงลูกในขวบปีแรกหรือปีที่สอง ยากที่สุดคือทำอย่างไรให้เด็กหลับตลอดคืน หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณแม่สามารถสร้างแผนการนอนของตัวเอง บนฐานองค์ประกอบของลูก และเลือกวิธีแก้ปัญหาแบบมีเหตุผลและละเอียดอ่อนที่พ่อแม่มีต่อลูกได้ เนื้อหาอ่านง่าย และนำไปปรับใช้ได้จริง
สั่งซื้อ คลิก
คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ (ฉบับสมบูรณ์)
การเตรียมตัวเป็นแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลสำหรับคุณแม่มือใหม่ เริ่มตั้งแต่การสังเกตการณ์อาการแรกเริ่มของการตั้งครรภ์ เตรียมรับมือกับพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ภายใน 9 เดือน เรียนรู้อาการแปลก ๆ ของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ครบถ้วนในเล่มเดียว
หลังคลอดลูกไม่ใช่จุดจบ หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องดูแลลูกน้อยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ในขณะเดียวกันคุณแม่เองก็ต้องดูแลรักษาร่างกายและจิตใจ มีหลายเคสที่คุณแม่เกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอด หรือมีคำถามเรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ต้องค่อย ๆ เรียนรู้ รับมือ เพราะการเป็นแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย การดูแลของแต่ละบ้านก็ต่างกัน ลองอ่านหนังสือแล้วมาปรับใช้ให้เหมาะกับตนเอง ไม่กดดันหรือบีบคั้นให้ต้องตรงตามตำราจนเกินไปนะคะ
หากมีคำถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์เพิ่มเติม ลองหาคำตอบจากหนังสือเล่มอื่น ๆ ได้ใน www.b2s.co.th หรือเดินไปที่หน้าร้าน B2S ทุกสาขาเลยค่ะ