คราวที่แล้วเราได้เรียนรู้เทคนิคการใช้สีไม้กันไปแล้วถึง 7 ข้อ เป็นอย่างไรกันบ้าง ไม่ยากเลยใช่ไหม?
(หากใครเพิ่งเคยพบกันในบทความนี้บทความแรก ย้อนกลับไปอ่านได้ที่นี่เลย)
มาต่อกันที่ 8 เทคนิคที่เหลือ รับรองว่าทำตามได้ง่าย ช่วยพัฒนาฝีมือการระบายสี พร้อมสอดแทรกเทคนิคแพรวพราวลงไปในภาพผลงานของเรา
วิธีนี้คล้ายกับวิธี Scumbling ให้ผลลัพธ์คล้ายกัน แต่มีแบบแผนมากกว่า เพราะเป็นการวาดวงกลมแบบหวัด ๆ ในกรอบพื้นที่ที่กำหนด วาดวงกลมซ้ำ ๆ เพื่อเพิ่มความหนาและความแน่นในพื้นที่เพื่อโชว์ให้เห็นโทนสีชัด ๆ ลองวาดวงกลมขนาดต่าง ๆ และกดน้ำหนักต่างกันเพื่อสร้างผลงานที่มีเอกลักษณ์
คือการสร้างแสงสว่างและความมืดด้วย ‘จุด’! เพียงแค่จุดเล็ก ๆ ติด ๆ กันเป็นจำนวนมาก ทำให้กลายเป็นเงาได้ ส่วนบริเวณที่ต้องการแสงสว่าง ปริมาณจุดก็จะน้อยลงจนกระทั่งเหลือเพียงพื้นที่ว่างเปล่าของกระดาษ เราสามารถลองใช้จุดสองสีในพื้นที่เดียวกันเพื่อเพิ่มสีสัน
ฟรอทเทจ (Frottage) มาจากภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า "ถู" คือการเอากระดาษวาดรูปวางทับลงบนพื้นผิววัสดุต่าง ๆ แล้วระบายสีทับลงไปเพื่อให้เกิดลวดลายของพื้นผิวนั้น ๆ เช่น ผิวไม้ ผิวขรุขระ ผิวตะแกรง เป็นเทคนิคที่ง่ายแสนง่าย แต่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับพื้นผิวหรือพื้นหลังผลงานของเราได้เป็นอย่างดี
เทคนิคนี้จะช่วยเบลนด์สีไม้ให้เนียนนุ่มโดยไม่ต้องระบายสี! เหมาะสำหรับใช้ลงสีในพื้นที่กว้างอย่างผืนฟ้า ผืนหญ้า หรือผิวน้ำ
ง่าย ๆ แค่เหลาดินสอสีลงบนกระดาษขาวบริเวณพื้นผิวว่าง ๆ ที่ต้องการลงสีนั้น แต่ต้องเลือกดินสอสีที่เนื้อสีนุ่มด้วยนะ จากนั้นใช้อาจใช้นิ้วมือของเรา หรือแปรงพู่กันที่แห้งและสะอาดก็ได้ กด ปัดป้าย ละเลงพิกเมนต์สีที่เหลือจากการเหลาลงในกระดาษ ถือเป็นวิธีการที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับระบายสีลงบนพื้นที่กว้าง
ใครว่าในบรรดาสีไม้ สีขาวจะสั้นกุดช้าที่สุดเพราะแทบไม่ได้ใช้เลย หากรู้เทคนิคนี้แล้ว เราจะได้หยิบสีขาวมาใช้ประโยชน์มากขึ้นแน่นอน เพราะสีขาวช่วยเกลี่ยสีไม้ให้เนียนขึ้นได้!
วิธีการนี้จะเพิ่มความสดให้สีไม้เหมือนเคลือบเงาใส โดยไม่ลดความเนียนของสีเลย เพียงแค่ระบายสีตามปกติ แล้วใช้สีขาวระบายทับด้านบน สีขาวจะช่วยเกลี่ยให้สีกลมกลืนขึ้น ทำให้พื้นผิวเนียน นุ่ม เบลอๆ และช่วยเพิ่มเงา ทำให้สีเข้มยิ่งขึ้น
รู้หรือไม่ว่าเราสามารถเกลี่ยสีไม้ให้เนียนขึ้นได้ด้วยการใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลหรือน้ำมันดอกคำฝอย!
หลังจากเราลงสีไม้ปกติแล้ว ใช้คอตตอนบัดจุ่มแอลกอฮอล์ล้างแผลหรือน้ำมันดอกคำฝอยแล้วถูไปบนสีที่ระบายไว้ ทำให้สีละลายซึมเข้าด้วยกันเป็นพื้นผิวที่เนียนนุ่ม
จริงอยู่ที่เราไม่สามารถผสมสีไม้เพื่อให้เกิดสีใหม่เป๊ะปังได้อย่างสีน้ำ แต่เราสามารถผสมสีไม้เข้าด้วยกันโดยใช้เทคนิคการผสมสี Optical blending หรือการระบายสีทับกันหลาย ๆ ชั้น สีที่ได้จะสามารถเห็นชั้นสีอื่น ๆ อยู่ด้วย แต่อาศัยสายตาของเราในการมองเห็นสีที่ผสมแล้ว
ลองเริ่มต้นร่างวงกลม 3 วงทับกันเหมือนโลโก้ช่อง 7 สี จากนั้นลงสีขั้นที่ 1 ลงไปก่อนในวงกลมวงแรก ระบายสีที่สองลงในวงกลมอีกวงหนึ่ง โดยให้มีพื้นที่ที่ทับซ้อนกันระหว่างวงกลมทั้งสอง และตามด้วยระบายสีที่สามลงในวงกลมสุดท้ายที่คาบเกี่ยวกันกับวงกลมที่เหลือ เพียงเท่านี้ เราก็เห็นมิติของสีที่ซ้อนทับกัน 2 สี และ 3 สี
ครบแล้วกับ 15 เทคนิคลับคมสกิลสีไม้ อย่าลืมหยิบกระดาษ จับดินสอสี ลงมือฝึก ลองวาด ระบาย ไปเรื่อย ๆ เพิ่มลูกเล่นด้วยเทคนิคต่าง ๆ ข้างต้น อัพเลเวลงานของเราไปทีละนิด แล้วการระบายสีจะไม่ได้น่าเบื่ออีกต่อไป
ที่สำคัญ! ควรเลือกสีไม้ที่ดีมีคุณภาพเพื่อให้ผลงานออกมาสวยงาม รู้หรือไม่ว่า สีไม้ที่ดีควรมีเนื้อละเอียด เนื้อสีแน่น เกลี่ยง่ายและติดทน ไส้สีไม้ต้องไม่แข็งหรืออ่อนจนเกินไป และไม่เปราะหักง่าย ถ้าหากกำลังมองหาสีไม้คุณภาพสูง ขอแนะนำ ดินสอสีไม้จาก Montmarte เม็ดสีเข้ม ไส้สีเนื้อละเอียด ให้สัมผัสเรียบลื่น ระบายไม่สะดุด มีเฉดสีพร้อมใช้สำหรับผู้เริ่มต้น สั่งซื้อได้ที่นี่
อ้างอิง: https://www.montmarte.net/create/articles/coloured-pencil-techniques