เรื่องราวของคนหนุ่มสาว 3 คนท่ามกลางผู้คนและความวุ่นวายของกรุงเทพมหานคร ในยุคที่สังคมไทยมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนอย่างมาก หนุ่มสาว 3 คนซึ่งเป็นเพื่อนร่วมคณะกันต้องพบเจอกับบาดแผลและการฉุดรั้งจากภาระหน้าที่ทางสังคมที่แตกต่างกันออกไป อัญชิสา เป็นหญิงสาวที่ต้องอาศัยอยู่กับแม่ที่ปฏิเสธอาการป่วยของตนเอง สุวิทย์ เป็นเด็กหนุ่มหัวดี อนาคตไกล มุ่งมั่นและแน่วแน่ในความเชื่อของตัวเอง และกุญชร ชายหนุ่มที่ครอบครัวมีฐานะร่ำรวย แต่นอกจากเงินแล้ว ชีวิตเขาก็ดูจะไม่มีอะไรอื่นอีกเรื่องราวของคนหนุ่มสาว 3 คนท่ามกลางผู้คนและความวุ่นวายของกรุงเทพมหานคร ในยุคที่สังคมไทยมีความผันผวนและแปรเปลี่ยนอย่างมาก หนุ่มสาว 3 คนซึ่งเป็นเพื่อนร่วมคณะกันต้องพบเจอกับบาดแผลและการฉุดรั้งจากภาระหน้าที่ทางสังคมที่แตกต่างกันออกไป อัญชิสา เป็นหญิงสาวที่ต้องอาศัยอยู่กับแม่ที่ปฏิเสธอาการป่วยของตนเอง สุวิทย์ เป็นเด็กหนุ่มหัวดี อนาคตไกล มุ่งมั่นและแน่วแน่ในความเชื่อของตัวเอง และกุญชร ชายหนุ่มที่ครอบครัวมีฐานะร่ำรวย แต่นอกจากเงินแล้ว ชีวิตเขาก็ดูจะไม่มีอะไรอื่นอีก
ปรีดี หงษ์สต้น
-
แพรวสำนักพิมพ์
315
นิยายไทย
235 baht
978-616-207-882-8
กวินทิพย์
โปรดจงโอบกอดฉันเอาไว้: บันทึกบาดแผลและการร่วงหล่นแห่งชีวิตของคนหนุ่มสาวในศตวรรษที่ 21 ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสวยงามและเปล่งปลั่งเท่าคนหนุ่มสาวที่แผ่ปีกอันกว้างใหญ่เพื่อโบยบินสู่โลกกว้าง อ้อมแขนทุกคู่โอบอุ้มขวดแก้วที่บรรจุปณิธานและไฟปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม แต่แล้ว กลับเป็นสังคมนี้เองที่ฉุดร่างของเหล่านักจาริกทั้งหลายลงจากฟากฟ้า ร่างที่กำลังกระพือปีกร่วงหล่นกระแทกลงกับผืนดินเบื้องล่างอย่างแรง นักจาริกไม่ย่อท้อ โผบินขึ้นสู่เบื้องบนอีกครั้ง แต่ร่วงลงมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า พลันเห็นขวดแก้วอันเปราะบางแตกกระจัดกระจาย และไม่สามารถรักษาเชื้อเพลิงที่อยู่ภายในไว้ได้ นักจาริกเด็ดปีกของตนเองออก และไม่คิดจะบินขึ้นไปบนผืนฟ้านั้นอีกเลย นวนิยายเรื่อง “โปรดจงโอบกอดฉันเอาไว้” วาดภาพหนุ่มสาวสามคนที่กำลังติดปีกโบยบินตามหาสิ่งที่เรียกว่า ‘ความจริง’ และ ‘ความรัก’ โดยมีฉากหลังของเรื่องเป็นกรุงเทพมหานครที่ถูกมองผ่านเลนส์การเมืองแสนโกลาหลอลหม่าน นวนิยายเรื่องนี้ชี้ให้เห็นถึงคนหนุ่มสาวที่ถูกจองจำโดยบริบททางสังคม สิ่งใดก็ตามที่ทำให้หนุ่มสาวเหล่านี้หมดสิ้นซึ่งความหวัง ทั้งสังคมล้วนช่วยกันก่อให้เกิดขึ้น แต่ผู้ที่ต้องรับผิดชอบและจมปลักอยู่กับความสูญเสียเหล่านั้นกลับเป็นตัวของพวกเขาเอง นอกจากนี้แล้ว นวนิยายเรื่องนี้พาผู้อ่านไปเผชิญหน้ากับการ การปฏิเสธความจริงของมนุษย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบได้ในทุกตัวละคร ทั้งอุษณาที่ปฏิเสธอาการป่วยของตนเอง อัญชิสาที่หลอกตัวเองถึงการมีอยู่ของเพื่อนสนิท ภาพลักษณ์ของพ่อที่แสนดีที่สุดท้ายแล้วก็เป็นเพียงแค่ภาพมายา หรือแม้กระทั่งกุญชรที่มองเห็นปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวอยู่ตรงหน้า แต่กลับเลือกที่จะละเลยเพราะเชื่อว่าสักวันหนึ่งมตนเองสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์ไม่สามารถพาตัวเองข้ามผ่านความสูญเสียและความผิดหวังไปได้โดยง่าย แต่สิ่งที่ฉุดรั้งพวกเขาเหล่านี้ไว้ไม่ให้ไปไหนนั้น นอกจากจะเป็นตัวของพวกเขาเองแล้ว ก็ยังหมายรวมถึงบริบททางสังคมและขีดจำกัดของความเป็นมนุษย์เอาไว้ด้วย ข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ตัวละครที่ผู้เขียนสร้างขึ้นนั้น นับว่าสมจริงเป็นอย่างมาก มีความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือแม้กระทั่งความใคร่ในกามารมณ์ ก็เกิดขึ้นกับทุกตัวละครในมิติที่ไม่ทับซ้อนกัน หรือหากจะกล่าวเป็นภาษาของเด็กนิเทศศาสตร์ที่ดิฉันบังเอิญไปได้ยินมา ก็พอจะกล่าวได้ว่า “ตัวละครมีความกลม ไม่แบน” มีความสลับซับซ้อนที่ยากจะเข้าใจได้ ดังนั้น การที่ผู้เขียนสามารถสร้างมนุษย์ที่ทำอะไรก็ตามให้ (มนุษย์อย่าง) ผู้อ่าน อ่านแล้วเกิดความไม่เข้าใจในการกระทำของมนุษย์ในหนังสือ ผู้เขียนย่อมเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง และด้วยความสามารถในการทำให้ผู้อ่าน ‘เชื่อ’ ในตัวละครอย่างสนิทใจนี้เอง กว่าผู้อ่านจะรู้ดีว่าสิ่งที่คนหนุ่มสาวนั้นล้วนแต่ไร้ซึ่งการมีอยู่ ทั้ง ‘ความจริง’ ที่ตั้งอยู่บนฐานของความลวง และ ‘ความรัก’ ที่ตั้งอยู่บนฐานของความใคร่ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีโครงเรื่องที่ซับซ้อน และมีประเด็นที่หลากหลายผูกติดตัวละครทุกตัวเอาไว้ด้วยกัน แต่ผู้เขียนก็ใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกอันอ่อนไหว และสั่นคลอนความเชื่อของผู้อ่านจนหมดสิ้น ความรู้สึกอันท่วมท้นถูกสั่งสมไปจนถึงตอนจบของเรื่องที่ชวนหดหู่ใจไม่น้อย ดิฉันเชื่อเป็นอย่างสูงว่านวนิยายเรื่อง “โปรดจงโอบกอดฉันเอาไว้ “โดยคุณปรีดี หงษ์สต้น จะสามารถเข้าถึงจิตใจที่เต็มไปด้วยบาดแผลของผู้อ่านทุกท่านได้อย่างสวยงาม
05 ก.ค. 64